วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สวัสดีครับ

ผมเคยแนะนำไฟล์ PowerPoint ซึ่งมีคติธรรมดี ๆ ในการดำเนินชีวิต หลายชุดที่ลิงค์นี้ ซึ่งผมขอชวนทุกท่านเข้าไปชม เชื่อว่าจะได้รับแง่คิดดี ๆ บางอย่างในการทำงานและการใช้ชีวิต
 

[265] 'เพื่อความงดงามและจรรโลงใจ' -ดาวน์โหลดไฟล์


วันนี้มีเพื่อนส่งมาให้อีก 1 ชุด ชื่อว่า How to Succeed (วิธีประสบความสำเร็จ)
คลิกดู online
คลิกดาวน์โหลดไฟล์ PPS
คลิกดาวน์โหลดไฟล์ PDF
 

เพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษ ผมขอแนะนำให้ท่านอ่านและพยายามแปลภาษาอังกฤษให้เต็มที่ก่อน จึงค่อยอ่านคำแปลภาษาไทย

ท่านไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับคำแปลที่ให้ไว้ ท่านอาจจะแปลใหม่ให้ดีกว่าก็ได้



 




















 

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2152] ถ้าอ่านดิก อังกฤษ - -> อังกฤษ ไม่รู้เรื่อง-ไม่แน่ใจ, เรามีตัวช่วย!!

สวัสดีครับ
ผมแนะนำหลายครั้งว่า ควรฝึกใช้ดิก อังกฤษ - - อังกฤษ ให้คล่อง เพราะมีประโยชน์หลายอย่างมากกว่าดิก อังกฤษ - - ไทย
 

ได้แนะนำดิก อังกฤษ - - อังกฤษ ไว้ที่2 ลิงค์นี้: Homepage แนะนำ และ เปิดดิก
 

อย่างไรก็ตาม ผมเข้าใจดีกว่า สำหรับท่านที่เริ่มต้นฝึก อาจจะรู้สึกเหนื่อยและท้ออยู่บ้าง ซึ่งน่าจะมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1)อ่านไม่รู้เรื่อง
2)อ่านรู้เรื่อง แต่ไม่แน่ใจ

 

ผมขอเรียนให้ทราบว่า อุปสรรค 2 ข้อนี้ คนที่ฝึกใช้ดิก อังกฤษ - -> อังกฤษ ต้องเจอทุกคน แต่ถ้าอดทน ใจเย็น ฝึกไปเรื่อย ๆ ปัญหานี้ก็จะค่อย ๆ หมดไป เพราะว่า ท่านจะค่อย ๆ อ่านรู้เรื่องมากขึ้นเอง และความไม่แน่ใจก็จะค่อย ๆ หมดไป เช่นกัน

และวันนี้ผมโชคดีครับ ไปพบดิกชันนารีเว็บนี้
 
http://www.kdictionaries-online.com/
ซึ่งเป็นดิก อังกฤษ – อังกฤษ +ด้วยคำแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีก 42 ภาษา ซึ่งมีภาษาไทยรวมอยู่ด้วย
 

เพราะฉะนั้น ทุกความหมายที่เป็นภาษาอังกฤษ จะมีคำแปลเป็นภาษาไทยต่อท้าย ซึ่งจะช่วยทำให้ปัญหาอ่านดิก อังกฤษ-อังกฤษ ไม่รู้เรื่องหมดไป
เช่น คำว่า listen เป็น verb เขาแสดงความหมายไว้อย่างนี้
1.ความหมายเป็นภาษาอังกฤษ
2.ประโยคตัวอย่าง
3.คำแปลเป็นภาษาไทย

 

ตามนี้ครับ
1 (often with to ) to give attention so as to hear (what someone is saying etc ):
I told her three times, but she wasn't listening; Do listen to the music!
Thai ฟัง
 

2 (with to ) to follow the advice of:
If she'd listened to me, she wouldn't have got into trouble.
Thai เชื่อฟัง

ในหน้าเว็บมีปุ่มให้คลิกฟังเสียงด้วยครับ


วิธีใช้
1)เข้าไปที่เว็บ
 
http://www.kdictionaries-online.com/

2)คลิกให้มีเครื่องหมายถูก [ / ] ที่หน้าคำว่า Thai
หรือถ้าต้องการรู้คำแปลในภาษาอื่น ก็คลิกที่ภาษานั้นด้วยก็ได้ บางท่านอาจจะสนใจภาษา จีน (Chinese), ญี่ปุ่น (Japanese), เกาหลี (Korean) ก็เชิญคลิกได้ตามสะดวก
 

3)พิมพ์ศัพท์ภาษาอังกฤษลงไป, Enter (ท่านอาจจะพิมพ์ศัพท์ภาษาไทยลงไปก็ได้ แต่การแสดงผลไม่ค่อยสมบูรณ์นัก)

ลองดูนะครับ ผมเห็นว่า ดิกเว็บนี้เป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ ในการใช้ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ที่ท่านกำลังฝึกอยู่



ปล. ถ้าท่านพบว่าคำแปลภาษาไทยที่ดิกให้ไว้ ไม่ตรงตามความหมายในภาษาอังกฤษ, ให้ยึดภาษาอังกฤษเป็นหลักนะครับ, เพราะบางความหมายคำแปลไทยอาจจะเผลอให้ไว้ผิด
 
 

พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2151]“Excuse me” (คำอธิบายจาก ดิก)

สวัสดีครับ
เพื่อนคนหนึ่งขอร้องให้ผมเขียนเรื่องการใช้คำศัพท์ เขาจะนำเอาไปส่งพิมพ์ในวารสารของเขา ผมนึกอะไรไม่ออกก็เลยเขียนวิธีการใช้คำว่า Excuse me  และขอนำเอามาลงที่บล็อกนี้ด้วย โดยขอเล่าอะไรเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

สำหรับแหล่งค้นคว้าก็หาง่ายมาก เพียงเปิดดิกอังกฤษ-อังกฤษสำหรับผู้ศึกษาภาษาอังกฤษที่เรียกว่า learner's dictionary ก็จะพบอย่างง่ายดาย ในบล็อกนี้ผมได้รวบรวม  learner's dictionary ไว้ที่ 2 ลิงค์นี้  Homepage แนะนำ  และ เปิดดิก


ผมอยากจะชักชวนทุกท่านที่ต้องการสร้างพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้แน่น ๆ ฝึกใช้ดิก learner's dictionary ให้คล่องแคล่วเหมือนกับที่ท่านใช้ดิก อังกฤษ – ไทย  แล้วท่านจะเห็นชัดว่า learner's dictionary แบบ อังกฤษ – อังกฤษ มีคุณสมบัติมากมายที่ดิก อังกฤษ – ไทย ไม่มี หรือไม่สามารถจะมีได้ เช่น

1) learner's dictionary ให้ความหมายของคำศัพท์ที่ถูกต้อง ละเอียด ชัดเจน เจาะจง มากกว่า, ศัพท์ใหม่ ๆ หรือความหมายใหม่ ๆ ก็มีมากกว่า

2) learner's dictionary มีคำอธิบาย และประโยคตัวอย่าง ที่ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของศัพท์ เมื่อเราอ่านหรือฟัง  และวิธีนำคำศัพท์ไปใช้เมื่อเราต้องพูดหรือเขียน,  ดิกอังกฤษ – ไทย ไม่ค่อยมีอย่างนี้ หรือมีก็แค่นิดหน่อย

3)เมื่อเราฝึกใช้  learner's dictionary แบบ อังกฤษ – อังกฤษ ไปนาน ๆ จะเป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลชะงัดมากในการช่วยให้เราฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อเราจะพูดหรือเขียน เพราะมันจะ start เป็นภาษาอังกฤษที่สมอง และไหลออกจากมือและจากปากเป็นภาษาอังกฤษไปเลย โดยไม่ต้องตั้งต้นเป็นภาษาไทยในสมองให้เสียเวลา

ผมเริ่มใช้ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยม ฝึกใช้อยู่หลายปีกว่าจะคล่อง  แต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้นค่าที่สุด ผมขอเสนอว่า ให้ท่านเริ่มฝึกโดยพิมพ์คำศัพท์ที่ท่านรู้ความหมายอยู่แล้วลงไป เช่น dog, cat, book, chair, love, computer และอ่านความหมายที่ดิกให้ไว้,  เราจะเห็นสไตล์การใช้ภาษาอังกฤษในการอธิบายศัพท์ต่าง ๆ เมื่อฝึกบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ คล่องขึ้น   ผลดีที่พลอยได้โดยไม่รู้ตัวก็คือ เราสามารถจดจำวิธีการอธิบายคำศัพท์จากดิก  นำเอาไปใช้ในการพูดและเขียนภาษาอังกฤษ,  จนท่านอาจจะทำให้ตัวเองและคนอื่นประหลาดใจว่าทำไมท่านพูดและเขียนได้คล่องขึ้น [เฉพาะในแง่นี้ผมขอแนะนำดิก อังกฤษ – อังกฤษ เล่มนี้เป็นพิเศษ -Cobuild เพราะเขาใช้ประโยคเต็ม ๆ ในการอธิบายศัพท์ทุกคำ ท่านศึกษาเพียงวันละ 7 คำ – 7 ประโยค ก็สามารถเห็นผลได้ภายใน 7 วัน]

เรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้ หากท่านใดไม่เคยลองฝึก ก็อาจเหมือนคนที่ไม่เคยเดินขึ้นภูกระดึงและฟังคนอื่นเล่า มันเห็นภาพไม่ชัดหรอกครับ,  ต่อเมื่อท่านได้เดินด้วยตัวเองจึงจะรู้ว่าเหนื่อยแต่คุ้มค่าเหนื่อย, เมื่อท่านได้ฝึกใช้ดิกอังกฤษ-อังกฤษด้วยตัวเอง ท่านก็จะรู้ว่า แม้อาจจะเหนื่อยบ้าง แต่ก็คุ้มค่าเช่นกัน คุ้มค่าจริง ๆ ครับ

เอาละครับ มาถึงคำว่า Excuse me ที่ผมพูดไว้ตอนต้นแล้ว ผมค้นมาจากดิกที่ผมบอกแล้ว จากหน้านี้:

ส่วนคำอธิบายเป็นภาษาไทยข้างล่างนี้ ก็มาจากหน้าดิกข้างบนนี้แหละครับ   ซึ่งผมขอย้ำอีกครั้งว่า ในกรณีที่ท่านพบปัญหาในการใช้ศัพท์คำใดก็ตาม  ก็อาศัยดิกพวกนี้แหละครับเป็นอาจารย์  ท่านจะไม่ผิดหวังเลยครับ  ขอเพียงท่านยอมลงทุนสักพักหนึ่งในการฝึกใช้ให้คล่องเท่านั้นแหละ 
*********
เชิญครับ.....

excuse me อ่านว่า “อิกสคี้วซฺมี”น่าจะตรงกับคำในภาษาไทยว่า “ขอโทษครับ” หรือ “ขอโทษค่ะ” เป็นคำกล่าวนำที่สุภาพ ก่อนที่จะตามด้วยประโยคขอโทษ หรือ ขอร้อง อะไรสักอย่าง
ในภาษาอังกฤษ ใช้ excuse me ใน 7 กรณีต่อไปนี้

1.ใช้กล่าวดึงความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เราไม่รู้จัก
 อย่างเช่น เมื่อไปต่างถิ่นและถามทาง
ก็พูดว่า “Excuse me, is this the way to the station?” (ขอโทษครับ/ค่ะ ทางนี้ไปสถานีใช่ไหมครับ/ค่ะ)
หรือจะถามเวลาก็พูดว่า “Excuse me, do you know what time it is?” (ขอโทษครับ/ค่ะ ทราบไหมครับ/คะ ตอนนี่กี่โมงแล้ว)

2 ใช้พูดขอทาง
เช่น “Excuse me, could you let me through?”  (ขอโทษครับ/ค่ะ ขอทางหน่อยนะครับ/คะ)

3.พูดขอโทษที่ทำอะไรไม่สุภาพเล็ก ๆ น้อย  
 เช่น หลังจากจามเสียงดังออกไป ก็พูดว่า  ‘Excuse me,’
หรือ ทำอะไรที่รบกวนคนอื่นบ้าง
เช่น  Excuse me, but do you mind if I shut the window?  (ขอโทษครับ/ค่ะ คุณจะรังเกียจไหมครับ/คะ ถ้าผม/ดิฉัน จะขอปิดหน้าต่าง)

4 ใช้เมื่อจะพูดไม่เห็นด้วย
เช่น Excuse me, but I don't think that's true. (ขอโทษครับ/ค่ะ แต่ผม/ดิฉันคิดว่า เรื่องนั้นคงไม่จริง)
หรือ “Excuse me, but I never said I’d pay for everything.” (ขอโทษนะครับ/ค่ะ แต่ผม/ดิฉัน ไม่เคยพูดนี่ครับ/คะว่าจะจ่ายทุกอย่าง )

5.พูดขอตัวเวลาที่จะลุกออกไปหรือไปพูดกับคนอื่น
 เช่นพูดว่า ‘Excuse me for a moment,’ (ขอโทษครับ/ค่ะ ขอตัวเดี๋ยวนะครับ/คะ) แล้วก็ลุกออกไป
หรือ “Excuse me for a moment – I have to make a phone call.” (ขอโทษครับ/ค่ะ ขอตัวโทรศัพท์เดี๋ยวนึงนะครับ/คะ) 

6 ใช้พูดเวลาที่เผลอไปกระทบหรือชนคนอื่น (เป็น American English)  
 เช่น Oh, excuse me. I didn't see you there. (โอ! ขอประทานโทษครับ/คะ ผม/ดิฉัน ไม่ทันเห็นว่าคุณอยู่ตรงนั้น)

7. ใช้พูดเพื่อให้เขาพูดซ้ำ(เป็น American English, ถ้าเป็น British English ใช้ Pardon me )  
เช่น  “Excuse me?   I didn't hear the last part of what you were saying.” (ขอโทษครับ/ค่ะ ตอนท้ายคุณพูดว่ายังไงนะครับ/คะ ผม/ดิฉัน ฟังไม่ทัน)

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2150]ชมวีดิโอข่าวในประเทศ (และวิธีฟังโดยปราศจากนิวรณ์)

สวัสดีครับ
ต่อคำถามที่ว่า มีขั้นตอนในการฝึกฟังภาษาอังกฤษ จากง่ายไปยาก อย่างไร
คำตอบของผม มีดังนี้ครับ
1.ฟังเรื่องง่าย ๆ เช่น ข่าวเนื้อหาง่าย ๆ หรือ story เนื้อเรื่องง่าย ๆ, เรื่องที่ใช้ศัพท์ง่าย ๆ, ผูกประโยคง่าย ๆ
 

2. ฟังเรื่องที่พูดช้า ๆ เพราะถ้าเป็น normal speed อาจจะยากเกินไปสำหรับคนที่ฝึกฟังใหม่ ๆ
 

3.ฟังเรื่องที่เราชอบ เพราะเราจะไม่เบื่อ เราจะทนได้แม้จะยากสักนิด เพราะเป็นเรื่องที่เราชอบ
 

4.ฟังเรื่องที่มี transcript ให้เราศึกษาก่อนฟัง หรืออ่านตามขณะที่ฟัง เพราะถ้าเราเข้าใจเนื้อเรื่อง เราจะมีปัญหาเฉพาะเรื่อง “สำเนียง” ส่วน “สำนวน” เราอ่านให้เข้าใจไว้ก่อนแล้ว


5.ฟังซ้ำหลาย ๆ เที่ยว ข้อนี้ถ้าทำควบไปกับข้อ 4. จะได้ผลมาก และจะดีมาก ถ้าเรา 1)อ่าน transcript ให้เข้าใจโดยตลอดซะก่อน และ 2)ฟังโดยไม่ต้องดู transcript (อนุญาตให้เหลือบดูบ้าง)
 

6.ฟังโดยใช้หูฟัง เพราะจะช่วยให้เราฟังได้ชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับ accent, บางคำ-บางประโยค เราฟังด้วยหูเปล่าไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่เมื่อฟังด้วยหูฟังจะรู้เรื่องมากขึ้น (แต่อย่าเปิดดังเกินไป มันจะเป็นอันตรายต่อแก้วหู)
 

ทั้ง 6 ข้อนี้ ผมเคยพูดมาแล้ว และท่านสามารถฝึกฟังได้จากเว็บที่ผมเคยแนะนำไว้ที่ลิงค์นี้
[1704]ฝึกฟังข่าว story บทความ ง่าย - ช้า – สั้น


วันนี้ผมมีมาเพิ่มเติมอีก 1 ข้อ คือ ให้เราฝึกฟังเรื่องที่เรามีพื้นฐานหรือเข้าใจอยู่แล้ว จะทำให้เราเข้าใจได้ง่าย เพราะเนื้อหาที่เราฟังไม่เข้าใจ มันจะถูกเติมด้วยความเข้าใจที่เรามีอยู่เป็นทุนเดิม ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือ โดยทั่วไปเราสามารถฟังข่าวภาษาอังกฤษที่เป็นข่าวในประเทศ ได้เข้าใจมากกว่าข่าวต่างประเทศ หรือถ้าท่านสนใจข่าวกีฬามากกว่าข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬาก็ย่อมฟังง่ายกว่า

ที่เว็บหนังสือพิมพ์ Bangkok Post เขามีวีดิโอข่าวในประเทศ Morning Focus page ที่ท่านสามารถฝึกฟังภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เพราะว่า 

1)เป็นข่าวในประเทศ และ 
2)บางคลิปเป็นวีดิโอภาพเคลื่อนไหว ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการฟัง เพราะมีภาพให้เราเห็นด้วย 

 

ธรรมดาหนังสือพิมพ์ Bangkok Post จะมีข่าวย้อนหลังให้เราอ่านไม่เกิน 2 เดือน แต่วีดิโอในรายการ Morning Focus page มีให้เราชมย้อนหลังไปจนถึง 14 กรกฎาคม 2553 นับว่า Bangkok Post ใจดีมาก

 


มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำเป็นพิเศษ เพราะผมเห็นว่า เว็บที่แนะนำเรื่อง listening มักจะไม่แนะนำกัน คือ การฟังด้วยสมาธิ คือจิตที่ปราศจากนิวรณ์ขณะฝึกฟัง ถ้าใครมีนิวรณ์มากเท่าไร ประสิทธิภาพในการฟังก็จะมีน้อยเท่านั้น 


นิวรณ์ขณะฝึกฟังภาษาอังกฤษมี 5 อย่าง ดังนี้
1.กามฉันทะ คือ “ฟังไป – อยากไป” เช่น อยากรู้เรื่องเยอะ ๆ เร็ว ๆ พอมันไม่รู้เรื่องสมอยาก ก็เกิดคลื่นในใจ ทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง ทั้ง ๆ ที่อยากรู้เรื่อง
 

2.พยาบาท คือ “ฟังไป – แค้นไป” คือ แค้นใจที่ฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อใจเอาแต่ต่อว่าใจที่ฟังไม่รู้เรื่อง ใจก็เลยไม่ได้ทำหน้าที่ของใจ คือตั้งใจฟังให้รู้เรื่อง
 

3. ถีนมิทธะ คือ “ฟังไป – ง่วงไป” ผมคิดว่า เหตุที่ง่วง น่าจะมาจาก ความเบื่อจากอดีตกาลนานไกลที่สะสมมานาน คำแนะนำง่าย ๆ ของผมก็คือ
--ขอให้ท่านบอกใจตัวเองว่า “ขอเวลาให้กูฟังภาษาอังกฤษสักครึ่งชั่วโมงก่อน ฟังเสร็จแล้วกูจะกลับไปเบื่อให้มึง
--แต่ถ้าความง่วงมาจากร่างกายที่งัวเงีย ไม่เกี่ยวกับใจ ก็ไปอาบน้ำล้างหน้าให้สดชื่น
 

4. อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ “ฟังไป – ฟุ้งไป” คิดเรื่องนั้น เรื่องนี้ เรื่องโน้น แทนที่ใจจะจ้องจับเสียงที่ไหลเข้ารูหู ก็ฟุ้งไปเที่ยวจนเป็นการฟังที่เสียเที่ยว
 

5. วิจิกิจฉา คือ “ฟังไป – ถามไป” และไม่ได้ฟัง เช่น เอาแต่ถามตัวเองว่า นี่เราต้องฟังไปอีกนานเท่าไหร่นะถึงจะรู้เรื่อง? มีวิธีอื่นอีกไหมนะที่จะทำให้รู้เรื่องเร็วกว่านี้ – มากกว่านี้? ฯลฯ ผมขอแนะว่า ถ้าท่านจะสงสัยก็ให้ไปสงสัยเวลาอื่น ขณะที่ฟังก็ให้เอาใจตั้งไว้ที่หูเพื่อฟังให้ดีที่สุด สงสัยอะไรก็ค่อยไปถามตอนเลิกฟังแล้วกันครับ

การฝึกภาษาอังกฤษเป็นภาระอันศักดิ์สิทธิ์ ต้องฝึกด้วยใจที่ศักดิ์สิทธิ์ คือใจที่มีสมาธิ – ใจที่ไม่มีนิวรณ์ ผลแห่งการฝึกจึงจะขลัง คือฝึกแล้วได้ผล   


เชิญเข้าไปที่หน้า Morning Focus page ของ Bangkok Post ได้เลยครับ
http://www.bangkokpost.com/multimedia/morning-focus
http://www.bangkokpost.com/multimedia/tag/morning+focus
 

พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2149] เทคนิคในการเตรียมตัว-ต้อนรับ-พูดคุย กับชาวต่างประเทศ

สวัสดีครับ
ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา งานราชการที่ผมทำอยู่ ทำให้ผมต้องติดต่อกับชาวต่างประเทศบ่อย ๆ ลักษณะของการติดต่อมีทั้งผ่านการเขียน (จดหมาย, อีเมล), โทรศัพท์, ไปประชุมหรือดูงานต่างประเทศ, ต้อนรับชาวต่างประเทศซึ่งเดินทางมาประชุมที่ที่ทำงานของผม, และจัดดูงานให้พวกเขา

งานที่ต้องทำข้างต้นหลีกเลี่ยงเรื่องการพูดคุยไม่พ้น โดยการพูดคุยมี 2 อย่าง คือ
1)คุยอย่างเป็นทางการ เช่น การเขียนจดหมายโต้ตอบอย่างเป็นทางการ, การเจรจาในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ, การเขียนสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการ เป็นต้น
 

2)คุยอย่างไม่เป็นทางการ ผมรู้สึกว่า จำนวนชั่วโมงที่ต้องทำหน้าที่พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการนี่มันน่าจะมากกว่าที่เป็นทางการซะอีก ท่านลองจินตนาการดูง่าย ๆ ก็ได้ครับ เช่น ไปรับแขกที่สนามบินสุวรรณภูมิและรับขึ้นรถจากสนามบินไปส่งที่โรงแรม, เวลา coffee break ตอนสายและบ่าย, เวลาบนโต๊ะอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น, เวลาพาไปดูงาน ทั้งช่วงขณะที่นั่งรถไปด้วยกัน และไปถึงสถานที่ดูงาน เป็นต้น

ผมรู้สึกว่า ในการพูดคุยกับชาวต่างประเทศ มันเป็นเรื่องของศิลปะที่ต้องฝึกฝนและเตรียมตัวอยู่เหมือนกัน และถ้าทำแต่ละครั้งได้ดีก็จะเกิดความชำนาญที่ค่อย ๆ สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และช่วยให้การทำงานครั้งต่อ ๆ ไปไม่ต้องเตรียมตัวมาก

ผมเข้าใจว่า มีเทคนิคที่สอนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะที่เรียกว่า small talk ผมเองไม่เคยเรียนเทคนิคนี้อย่างเป็นงานเป็นการ เพราะฉะนั้นเรื่องที่จะคุยกับท่านผู้อ่านต่อไปนี้ ก็ขอให้ถือว่าเป็นการเล่าสู่กันฟังเฉย ๆ แล้วกันครับ มันอาจจะมีอะไรผิด ๆ เพี้ยน ๆ ไปบ้างก็โปรดอภัยด้วยแล้วกันครับ
 

1)ให้การพูดคุยกับแขกต่างประเทศ มีทั้งการ inform และ entertain:
คือว่า ในช่วงเวลาที่พูดคุยรับแขกนั้น อย่าไป serious มากเกินไป และอย่าพูดขี้เล่นจนกระเจิดกระเจิง แต่ให้สิ่งที่เราพูดคุยกับเขามีทั้งการให้ข้อมูลที่น่าสนใจ (และกะว่าเขาสนใจ) และถ้าเป็นไปได้ก็ให้สนุกด้วย และนี่เป็นข้อมูลและทักษะ ที่ต้องทั้งสะสมและฝึกฝน เช่น
 

-ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับประเทศไทย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง(ที่พูดแล้วไม่อันตรายและไม่เสียภาพพจน์) เราควรสะสมข้อมูลพวกนี้ไว้เรื่อย ๆ เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์รายวันหรือนิตยสาร เราไม่รู้หรอกครับว่า สิ่งที่เราสะสมไว้นี้จะเป็นประโยชน์เมื่อไรในอนาคต แต่ขอรับรองว่ามันมีประโยชน์แน่ ๆ 

-ผมขอแนะนำว่า เมื่อข้อมูลเหล่านี้ผ่านตาเรา ขอให้เราขมวดใส่สมองเป็นประโยคง่าย ๆ ไม่กี่ประโยค ที่ฟังง่าย-เข้าใจง่าย โดยอาจจะไม่ต้องลงไปในรายละเอียด เพราะในการพูดคุยที่เป็น small talk นั้น แต่ละฝ่ายก็พูดสั้น ๆ โต้ตอบกันไปมา การใช้ประโยคสั้น ๆ ที่สามารถทั้ง inform และ entertain จึงเป็นการพูดคุยที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะแขกที่เราคุยด้วย เขาจะรู้สึกว่า เขาได้รู้อะไรที่เขาสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ จากปากคนไทยในบรรยากาศที่ไม่เครียด  

สรุปก็คือ เนื้อหาเป็นสิ่งที่ต้องสะสม และการหยิบเนื้อหาขึ้นมาพูดได้อย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน
 

2)การรับแขกแต่ละครั้งควรจะทำการบ้านบ้าง:
นอกจากข้อมูลทั่ว ๆ ไปที่เราควรสะสมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ถ้ามีเวลาเราก็น่าจะทำการบ้านหาข้อมูลเฉพาะในการรับแขกแต่ละครั้งด้วย เช่น...
 

XXX ผมขอยกตัวอย่างของตัวเองแล้วกันครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ผมไปร่วม workshop ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีชาวญี่ปุ่น 4 คนเข้าร่ามด้วย ใน 4 คนนี้มีคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน CNC ทำงานกับบริษัท DENSO ที่ญี่ปุ่น, อีกคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน skill assessor, อีก 2 คนทำงานที่สำนักงาน JAVADA ประเทศญี่ปุ่น และส่วนหนึ่งของ workshop นี้จะนำพวกเขาไปดูงานการทดสอบทักษะของพนักงานนวด spa ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย ผมเองไม่มีความรู้ทางเทคนิคก็ต้องทำการบ้านมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ เผื่อว่าเวลาพูดคุยกับเขาเมื่อมีเรื่องที่พาดพิงไปถึงจะได้พอคุยได้บ้าง

ถ้าท่านถามว่า แล้วจะไปหาข้อมูลที่ไหนล่ะ? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ก็ถามคนที่รู้ในที่ทำงานของผมนั่นแหละครับ แต่ถ้าไม่สบโอกาสเหมาะที่จะถาม หรือมีข้อมูลอื่น ๆ อีกที่ต้องค้นหา ก็ไม่ยากครับ เพราะเดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ให้ Google ตอบได้ อย่างเช่นกรณีนี้ท่านเพียงถามง่าย ๆ ว่า CNC คืออะไร, เกี่ยวกับบริษัท DENSO เป็นต้น ลองถามไปเถอะครับ บางกรณี Google อาจไม่สามารถให้คำตอบชัด ๆ ได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะสามารถให้ข้อมูลสำหรับใช้ในการ small talk กับชาวญี่ปุ่นได้
 

XXX การรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศของแขกที่เราต้อนรับจะช่วยอย่างมากเมื่อมี small talk และแหล่งข้อมูลพื้นฐานของประเทศอื่นที่หาได้ง่ายที่สุดก็คือที่ Wikipedia
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
และที่เว็บกระทรวงการต่างประเทศของไทย


เรื่องข้อมูลของต่างประเทศเมื่อเราคุยกับเขา ขอให้ท่านดูจังหวะให้ดี บางทีการถามเจาะ ๆ เพื่อให้เขาคุยเรื่องของเขาให้เราฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เขาภูมิใจ อาจจะดีกว่าการพูดคุยในทำนองว่าเรารู้ เรื่องนี้แล้ว ท่านดูความเหมาะสมเอาเองแล้วกันครับ
 

XXX การเรียนรู้คำทักทาย หรือวลีง่าย ๆ เช่น สวัสดี, ขอบคุณ, ไม่เป็นไร, พบกันใหม่ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ถ้าเรียนรู้และจำได้ ก็ไม่เสียหลายครับ อาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่เราสามารถหยิบขึ้นมาพูดคุยซักถาม ลองคลิกดูที่นี่ก่อนก็ได้ครับ
 

3)Joke มีประโยชน์ แต่ต้องพูดให้เหมาะ
สำหรับชาวต่างชาติบางคน เขามาเยี่ยมที่ทำงานของผมบ่อยจนเราคุ้นเคยกัน ในกรณีเช่นนี้ บางครั้งผมก็เอา Joke มาคุยเล่นกับเขา มีทั้ง joke ที่ผมเจอมาด้วยตัวเองและที่ผมจำมาจากที่อื่น ซึ่งเหมาะที่สุดก็คือ joke สั้น ๆ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า one-liner เพราะไม่ต้องให้คู่สนทนารอนานกว่าจะถึงตอนที่ขำ เช่นที่ลิงค์นี้


แต่แม้ว่า joke จะมีประโยชน์ที่ช่วยให้การสนทนามีรสชาติ แต่ก็ไม่ควรใช้บ่อยกินไป และต้องระวังสิ่งที่ตรงกับสำนวนฝรั่งว่า politically correct คือจะต้องไม่มีข้อความหรือนัยะที่กระทบกระเทือนคนบางชาติ บางกลุ่ม บางเพศ บางสถานะ ฯลฯ แต่โดยปกติถ้าเป็น clean joke มักเล่าได้เพราะอันตรายน้อย
 

4)อย่าลืมชมทันทีเมื่อมีโอกาส
เรื่องการชมเรื่องที่จริง อย่างใจจริง อย่างพอดี ๆ เป็นสิ่งที่ควรทำทันทีเมื่อมีโอกาส เช่น คราวนี้ที่ไปสุราษฎร์ธานีด้วยกัน มีญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าเขาเป็นคนอินเตอร์มาก คือไม่ว่าใครจะพูดเรื่องอะไรเขาสามารถร่วมพูดคุยได้ทุกเรื่อง โดยมีข้อมูล ประสบการณ์ หรือความคิดเห็นในเรื่องนั้นร่วม share ด้วยอย่างเหมาะสมทุกครั้ง ผมจึงต้องชมว่าเขาน่าทึ่ง หลังจากนั้นเราได้ไปกินอาหารเย็นด้วยกันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง ขณะที่กินเสร็จและกำลังจะลุกผมเตือนทุกคนว่า อย่าลืมทิ้งอะไรไว้นะครับ โดยเตือน 2 ครั้งห่างกัน และก็มีเพื่อนญี่ปุ่นคนหนึ่งของเขาทำท่าเกือบจะลืมกระเป๋าไว้ใต้โต๊ะจริง ๆ คนญี่ปุ่นคนนี้เขาก็ชมผมทันทีว่าผ่านประสบกาณ์มาเยอะ เรื่องการชมนี้เป็นเรื่องดีครับ แต่ก็อย่างที่บอกแล้ว ให้เป็นการชมเรื่องจริง จากใจจริง และชมพอดี ๆ
 

5)ประเมินความสมารถและนิสัยในการพูดคุยของคู่สนทนาด้วย:
การประเมินความสามารถและนิสัยในการพูดคุยของคู่สนทนาเป็นเรื่องจำเป็นครับ คู่สนทนาที่ฟังภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ เราก็ต้องใช้เนื้อหา และภาษาอังกฤษที่เหมาะสมในการพูดกับเขา และอย่าพูดเร็วเกินไป แต่ก็อย่าทิ้งเขาให้อยู่เหงา ๆ เพียงเพราะเขาพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ ส่วนคนที่พูดภาษาอังกฤษเก่งก็ต้องหาเรื่องคุยให้เหมาะเช่นกัน


ถ้าท่านผู้ใดอ่านมาถึงบรรทัดนี้และต้องการบ่นว่า แค่จะพูดออกมาให้ได้ 1 ประโยคก็ยากแล้ว ยังจะให้มีทักษะ small talk อีกคงไม่ไหวหรอก!!
 

ถ้าท่านบ่นอย่างนี้ ผมก็อยากจะบอกท่านว่า การฝึกภาษาอังกฤษทุกทักษะ มันเหมือนกัน คือ


ก่อนพูดได้ ต้อง ได้พูด
ก่อนฟังได้ ต้อง ได้ฟัง
ก่อนอ่านได้ ต้อง ได้อ่าน
ก่อนเขียนได้ ต้อง ได้เขียน
สรุปก็คือ ก่อนทำได้ ต้อง ได้ทำ

ลองผิด มาก่อน ลองถูก
เพราะเมื่อเราทำผิด เราก็ได้เรียนรู้จากความผิด เพื่อจะได้ไม่ต้องทำผิดอย่างนั้นอีก

คนที่ไม่ยอมลงทุนอายเมื่อพูดหรือเขียนผิด ๆ ออกไป, ไม่ยอมลงทุนงงเมื่อฝึกอ่านและฝึกฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ก็คงยากที่จะได้กำไรจากการฝึก

มันเหมือนคำที่เราเคยพูดกันมาตั้งแต่เด็ก คือ ง.งู มาก่อน ฉ.ฉิ่ง - โง่มาก่อนฉลาด

เรื่องที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ หลายคนก็ยอมรับแล้วว่า เราต้องฝึกเพื่อจะได้เก่ง แต่กลับพยายามน้อยเกินไป คือ นั่งอยู่เฉย ๆ รอให้โอกาสที่จะได้ฝึกวิ่งเข้ามาชน ไม่ขวนขวายไปแสวงหาโอกาสในการฝึก แล้วก็บ่นว่า ไม่มีโอกาสฝึก
 

ผมทำบล็อกนี้ขึ้นมาเพราะผมเชื่อว่า ใครที่พยายามหาโอกาสก็จะพบโอกาส, เมื่อพบโอกาสแล้ว เมื่อได้ฝึกก็จะฝึกได้, เมื่อได้ทำก็จะทำได้ ผมเชื่อเช่นนี้มานานแล้ว และเชื่อว่าตัวเองเชื่อไม่ผิดด้วยครับ

พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2148] ดาวน์โหลด “คัมภีร์อาจารย์ดำ”

สวัสดีครับ
ผมเคยเขียนแนะนำเว็บเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์อดัมที่ลิงค์นี้[2090] เรียนภ.อังกฤษกับ อจ.ฝรั่งพูดภาษาไทย 3 ท่าน 



วันนี้คุณ meaw pijitra ได้เขียนแนะนำมาว่า
มีคนใน Fan Page อ.อดัม
http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
ได้รวบรวมคำตอบที่อ.อดัมได้ตอบคำถามใน Fan Page เป็นไฟล์ pdf และไฟล์โปรแกรม (exe)ค่ะ
หนูเลยอยากส่งต่อให้อ.พิพัฒน์ ไปเผยแพร่ในบล็อกด้วย เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนกำลังเรียนภาษาอังกฤษ

 

ผมเองได้ดาวน์โหลดออกมาอ่านแล้ว เนื้อหาน่าสนใจมากครับ ท่านลองคลิกดูสัก 1 หน้าข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง  (ไม่ค่อยชัดนัก แต่ดาวน์โหลดออกมาแล้ว ชัดครับ)

ถ้าชอบใจก็ดาวน์โหลดได้เลยครับ
ขอขอบคุณคุณ meaw pijitra มากครับ



Part 1.1.1.1  
รูปแบบ EXE
http://www.mediafire.com/?s042b7zbqsdzrnr
รูปแบบ PDF
http://www.mediafire.com/?x21doaepdsvtg90

Part 1.1.1.3  
รูปแบบ EXE
http://www.mediafire.com/?k3g4e31zca5c1uv
รูปแบบ PDF
http://www.mediafire.com/?nvpfoyq5wgdbbep

Part 1.1.1.4
แบบ exe
http://www.mediafire.com/?r977q3qdwdxqs1h
แบบ PDF
http://www.mediafire.com/?lvcbpdrd9ksyj2j  (รู้สึกว่าลิงค์จะเสีย)

Part 1.1.1.5
แบบ exe
http://www.mediafire.com/?k4ecoj6jhn3c9bx
แบบ PDF
http://www.mediafire.com/?qxkgast402rpn8p

Part 1.1.1.6  
แบบ exe
http://www.mediafire.com/?848r1rav83mvbf6 (รู้สึกว่าลิงค์จะเสีย)
แบบ PDF
http://www.mediafire.com/?h67w7b6yq6i3jip
 
พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com
 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[2147] ศึกษาภาษาอังกฤษจากเว็บไซต์ที่ผมได้จากบนสะพานลอย

สวัสดีครับ
วันนี้ผมมีธุระไปขึ้นรถไฟฟ้า BTS ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขณะที่กำลังเดินไปที่ช่องตั๋ว เจอน้องผู้หญิง 2 คน ๆ หนึ่งสวมเสื้อยืด UNHCR ส่วนอีกคนก็สวมเสื้อยืด  UNICEF เขาเอากระดาษแผ่นเล็ก ๆ เกี่ยวกับองค์กรของเขา ให้ผมดูแล้วถามว่าเคยเห็นไหม ผมตอบว่าไม่เคยเห็น เขาบอกว่าถ้ามีคนส่งไปให้ขอความกรุณาให้เปิดอ่านด้วย ผมรับปาก ก่อนจากผมถามเว็บไซต์ขององค์กรของเขามีเป็นภาษาไทยไหม เขาตอบว่าไม่มี

เมื่อกลับมาบ้าน ผมลองหาดูในเน็ต ก็พบว่าทั้ง UNHCR และ UNICEF มีเว็บไซต์ประจำประเทศไทย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ถ้าท่านผู้อ่านไม่สนใจเรื่องราวของ UNHCR และ UNICEF ก็ไม่เป็นไร แต่ที่ผมนำเว็บไซต์ของเขามาแนะนำก็เพราะว่า การที่เขาเป็นเว็บ 2 ภาษา ก็เป็นอีก 1 ช่องทางที่เราจะศึกษาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยนำต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทยมาเปรียบเทียบกัน  ส่วนภาษาที่เขาใช้ก็เป็นภาษาที่เราสามารถจดจำไปใช้ได้  ผมเชื่อว่า เขาไม่ทำให้องค์กรของเขาเสียชื่อ เพราะภาษาของเว็บไซต์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรอกครับ




สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)

ภาษาไทย
หน้าเว็บ:http://unhcr.or.th/th
จดหมายข่าว: http://unhcr.or.th/th/newsletter


English
Office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
ตัวอย่าง: ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
Refugees in Thailand have been fleeing conflict and crossing Myanmar's eastern border jungles for the safety of Thailand for nearly 25 years. Inside Thailand, they find refuge in nine government-run camps along the border where Myanmar refugees and asylum-seekers receive basic food, shelter, medical care and schooling.


Today there are nearly 90,000 registered refugees and some 16,700 asylum seekers in Thailand (as of December 2010). Most refugees are ethnic minorities from Myanmar, mainly Karen and Karenni, who live in nine camps in four provinces along the Thai-Myanmar border. The Thai government runs all camps, with most assistance provided by non-governmental organisations (NGOs), while UNHCR focuses on protection activities and programmes to ensure that refugees live in safety and relative security within the camps.
ผู้ลี้ภัยจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศพม่าอพยพข้ามฝั่งชายแดนตะวันออก ของประเทศมายั่งฝั่งไทยต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานถึงเกือบ 30 ปี   ปัจจุบันในประเทศไทยมีพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนจำนวน 9 แห่งที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยชาวพม่าได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะ เป็นด้านอาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค และการให้การศึกษาจากองค์กรพัฒนาเอกชน

ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 90,000 คนและ ผู้ขอลี้ภัยอีก 16,700 คน ซึ่งส่วนมากเป็น ชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัย อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ค่ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ก็ทำงาน ในค่ายเหล่านี้โดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้ อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย






องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)
ภาษาไทย
หน้าเว็บ:http://www.unicef.org/thailand/tha/
เอกสารเผยแพร่:http://www.unicef.org/thailand/tha/resources.html

English
United Nations Children's Fund (UNICEF)

ตัวอย่าง: นมแม่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารกในภาวะน้ำท่วม
อยุธยา 2 พฤศจิกายน 2554 – สุจิรา เอี่ยมสำราญ คลอดลูกสองวันหลังจากอพยพจากบ้านมาอยู่ที่ศูนย์พักพิง บ้านของเธอเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนักที่สุดพื้นที่หนึ่งในอยุธยา  แต่ถึงแม้ว่าสุจิราจะเครียดจากการที่ต้องอพยพโยกย้ายบ้านและกังวลเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของลูก เธอก็ยังคงพยายามให้นมลูกต่อไปเพื่อให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรงโดยเฉพาะในช่วง เวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

ตอนนี้ลำบากค่ะ แต่ก็ไม่อยากให้ลูกป่วยสุจิรา วัย 26 ปีบอก เธอต้องย้ายออกจากบ้านกะทันหันกลางดึกเมื่อน้ำไหลบ่าท่วมบ้านฉับพลันแต่ตอนนี้ลูกยังแข็งแรงดีค่ะ


สุจิราและครอบครัวมาพักอยู่ในตึกที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จแห่งหนึ่งในตัว เมืองอยุธยามาเป็นเวลากว่าสองอาทิตย์แล้ว ที่นี่ได้กลายเป็นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้คนนับร้อยที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วมในครั้งนี้  นอกเหนือจากสุจิรายังมีอีกหลายครอบครัวที่มีลูกเล็ก ซึ่งมาจับจองพื้นที่ใกล้ๆ กันในตึก ทุกคนในชั้นนี้ล้วนแต่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่



แม้จะไม่ค่อยสะดวก แต่ก็ยังให้นมลูกต่อเพราะอยากให้เขาแข็งแรงค่ะฐิติพร พาชื่น อายุ 32 ปีกล่าวระหว่างให้นมลูกอายุห้าเดือน  “การให้นมแม่ปลอดภัย ง่ายและประหยัดค่ะ



 ขณะนี้ยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้มารดาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ท่วมให้นมลูกต่อไป โดยได้อ้างถึงผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับซึ่งระบุว่านมแม่ช่วย สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยปกป้องเด็กจากความเจ็บป่วยในภาวะฉุกเฉินเช่นน้ำ ท่วม




การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่แม่จะพึงทำได้ในการปกป้อง ลูกจากความเจ็บป่วยนภัทร พิศาลบุตร เจ้าหน้าที่สารนิเทศเพื่อการพัฒนาของยูนิเซฟกล่าวแม่ที่ต้องอพยพจากบ้านเรือนเพราะน้ำท่วมอาจไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มใช้ที่ สะอาด ยังไม่ต้องพูดถึงน้ำสำหรับการล้างมือหรืออุปกรณ์ประกอบอาหารด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้เราถึงพยายามแนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองต่อไปแทนที่จะหันไป พึ่งนมผง



นภัทรกล่าวว่าแม่ที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกอาจสร้างความเสี่ยงให้กับลูกโดยไม่ ได้ตั้งใจจากน้ำและขวดนมที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคท้องร่วงเป็นอันตรายต่อชีวิตทารกได้


อย่างไรก็ตาม มีแม่บางคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมไม่มั่นใจว่าจะสามารถให้นม ลูกต่อไปได้ บางคนเชื่อว่าความเครียดจะทำให้น้ำนมแห้ง ในขณะที่บางคนเชื่อว่าไม่สามารถให้นมลูกได้ถ้าตนเองไม่ได้รับอาหารเพียงพอ นอกจากนี้แม่ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าเมื่อหยุดให้นมลูกแล้วจะไม่สามารถกลับมาให้ นมใหม่ได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ล้วนแต่ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น



ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่าความเครียดอาจจะมีผลกระทบชั่วคราวต่อน้ำ นมแต่จะไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนมตราบใดที่แม่และทารกยังอยู่ด้วยกันและได้รับ การสนับสนุนอย่างเหมาะสมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในขณะเดียวกันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยลดความเครียดในแม่ด้วยซ้ำ และสร้างสายใยความผูกพันระหว่างแม่และลูก



สุขจริง วงศ์เดชกุล นักโภชนาการอาวุโสจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าได้มีการส่งคณะทำงานด้านสาธารณสุขไปตามศูนย์พักพิง เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้แม่สามารถให้นมลูกอย่างต่อเนื่องต่อไป




เราพยายามเข้าถึงแม่จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้สุขจริงกล่าวเราสนับสนุนคนที่ให้นมลูกอยู่แล้วให้ให้ต่อไปและช่วยคนที่หยุดให้นมกลับมา ให้ใหม่



อย่างไรก็ดีมีแม่หลายคนที่หยุดให้นมลูกในภาวะฉุกเฉินหลังจากที่ได้รับ บริจาคนมผง พบว่าในบางประเทศมีการบริจาคนมผงจำนวนมหาศาลให้กับแม่ที่ให้นมลูกในช่วงภาวะ ฉุกเฉินโดยไม่มีการกำกับควบคุมอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในทารกจำนวนมาก



ในประเทศไทยซึ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำที่สุดในเอเชียและต่ำที่ สุดประเทศหนึ่งในโลก มีทารกเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของ ชีวิต

นภัทร ซึ่งได้ไปเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหลายแห่งในจังหวัดชัยนาท ลพบุรีและสิงห์บุรีเพื่อประเมินสถานการณ์ของเด็กและครอบครัวที่ได้รับผล กระทบจากน้ำท่วมกล่าวว่า แม่ส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติเหมือนเดิม คือถ้าให้นมแม่ก็ยังคงให้นมแม่ต่อไป หรือให้นมผงก็ยังให้นมผงต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมผง จึงไม่น่าแปลกใจที่นมผงเป็นสิ่งที่แม่ต้องการมากที่สุด


แต่ไม่ใช่แม่ทุกคนที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกจะรู้ถึงความเสี่ยงของการใช้นมผง ในช่วงน้ำท่วมนภัทรกล่าวดังนั้นสถานพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ข้อมูลแก่แม่ และช่วยควบคุมการแจกนมผงเพื่อให้แน่ใจว่านมผงจะไม่ถูกส่งไปให้แม่ที่เลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อยู่ แต่จะให้เฉพาะแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้นมผงเท่านั้น
เจ้าหน้าที่อนามัยได้เตือนแม่ที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกให้ใช้น้ำต้มสุกหรือน้ำ ขวดในการผสมนมผง นอกจากนี้ยังเตือนให้ใช้ถ้วยที่สามารถล้างให้สะอาดได้ง่ายในการให้นมลูก เพราะขวดนมและจุกนมสามารถถูกปนเปื้อนได้โดยง่ายและอาจทำให้ท้องร่วงได้


AYUTTHAYA, Thailand, November 2011 – Sujira Imsamran gave birth just two days after being evacuated from her house in Ayutthaya Province, one of the areas hardest-hit by flooding.  Despite the stress of being displaced and worrying about her baby’s well-being, Sujira is trying her best to keep breastfeeding in order to keep him healthy throughout this difficult time.

“It’s a hard situation, and I don’t want my son to get sick,” said Sujira, 26, who was evacuated in the middle of the night as fast-flowing floodwaters inundated her home. “But he is doing just fine so far.” 

For more than two weeks, Sujira and her family have been living in the shell of an unfinished building in Ayutthaya town that is now serving as a temporary shelter for hundreds of people affected by flooding. Living alongside her are a few other families who have settled in here with their small babies and young children, all of whom have been breastfed by their mothers.

“Although it's not so comfortable here, I am continuing to breastfeed my son because I want him to be strong,” said Thitiporn Phachen, 32, while breastfeeding her five-month old. “It's also safe, easy and cheap.”

UNICEF, the World Health Organization (WHO) and the Thai Breastfeeding Centre are urging mothers affected by flooding to continue breastfeeding. The organizations note that numerous scientific studies have proven that breast milk helps to build up the immune system in babies and young children, which can help them ward off illnesses in times of emergency such as the current flood crisis.

“Breastfeeding is one of the best things that mothers can do to protect their babies from illnesses,” said Napat Phisanbut, UNICEF Thailand’s Communication for Development Officer. “Mothers displaced by these floods can lack access to enough safe water to drink, let alone enough water for hand washing or cleaning food utensils.   That is why we recommend mothers continue to breastfeed rather than turning to infant formula to feed their babies.”

Napat said mothers who use infant formula can inadvertently expose their babies to contaminated water and feeding bottles, which can result in severe diarrhoea that can be life threatening.

Unlike Sujira and Thitiporn, some mothers affected by the flooding are unsure if they can continue breastfeeding. Some mothers believe stress makes their milk dry up, while others believe they cannot breastfeed if they are not getting enough food themselves. Most mothers believe that once they stop breastfeeding their children, they cannot start again.  All of these beliefs are wrong.

Health experts say that although stress can temporarily interfere with the flow of breast milk, it is not likely to inhibit breast milk production, provided mothers and infants remain together and are supported to continue breastfeeding.  At the same time, breastfeeding actually helps reduce stress in mothers and also creates a loving bond between them and their babies. 

Sukjing Wongdechakul, Senior Nutritionist of the Ministry of Public Health’s Department of Health said several teams of health workers have been dispatched to different temporary shelters to provide counseling and practical support to mothers in order to help them continue breastfeeding.

“We try to reach as many mothers as possible,” said Sukjing. “We encourage those who are already breastfeeding their children to continue to do so and we are helping mothers who had stopped to restart”.

Many mothers, however, stop breastfeeding during emergencies after receiving donated infant formula.  In some countries, massive amounts of infant formula are donated to breastfeeding mothers during emergencies without appropriate controls, resulting in unnecessary illnesses and death among many babies.

In Thailand which has the lowest breastfeeding rate in Asia and one of the lowest in the world, only 5.4 per cent of babies are exclusively breastfed during the first six months of life.

Napat, who recently visited several flood-ravaged areas in Chainat, Lopburi and Singburi provinces to assess the situation of children and families affected by floods, said most mothers are maintaining the same infant feeding practice as before the floods. Unsurprisingly, infant formula is among the items most requested by mothers affected by the flooding.


“Not all mothers using infant formula in flooded areas are fully aware of the risks,” Napat said. “Health facilities can play a role in providing information to mothers and ensuring that infant formula is given only to mothers who really need it.”
Health officials are warning mothers who use infant formula to use boiled or bottled water when mixing it. In addition, mothers are being urged to use cups that can be easily cleaned to feed their babies, as baby bottles and teats can be easily contaminated and lead to diarrhoea.

พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com