วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

[2408] ชมวีดิโอสารคดีศิลปะการต่อสู้ทั่วโลกชุด Human Weapon



สวัสดีครับ
ศิลปะการต่อสู้ที่เป็นสมบัติประจำชาติคงมีอยู่ทั่วโลก และถ้ามีการหยิบเอาไปเป็นกีฬาระหว่างประเทศก็ทำให้ประเทศอื่นรู้จักศิลปะการต่อสู้ของประเทศนั้น หรือชื่นชมไปด้วย ในแง่นี้ผมรู้สึกว่าเราคนไทยออกจะภูมิใจที่เรามีมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว หลายคนพูดด้วยความมั่นใจเลยว่า ถ้าต่อสู้กันด้วยมือเปล่า คนไทยต่อสู้ด้วยมวยไทยไม่แพ้ใครแน่ ผมเคยดูมวยกังฟูที่ว่าแน่ ๆ น่ากลัวมาก (เพราะดูในหนังแล้วรู้สึกอย่างนั้น) มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเคยดูมวยกังฟูจับคู่ชกกับมวยไทยที่เวทีมวยลุมพินี แค่ยกเดียวหรือไม่เกิน 2 ยกถูกนักมวยไทยเตะล้มฟุบคาเวทีไม่เป็นท่า

วันนี้ผมเจอวีดิโอสารคดีชุด   Human Weapon โดย Jason Chambers และ Bill Duff ได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อนำศิลปะการต่อสู้ของชาติต่าง ๆ มาเผยแพร่
 ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมีเรื่องของมวยไทยรวมอยู่ด้วย  ผมเห็นว่าน่าสนใจจึงขอนำมาฝากครับ

Human Weapon- S1-E1 Muay Thai [FULL EPISODE] ไทย

Human Weapon- S1-E3 Karate [FULL EPISODE] ญี่ปุ่น

Human Weapon - Ninjutsu (Full)  ญี่ปุ่น

Human Weapon - Taekwondo (Full)  ญี่ปุ่น

Human Weapon- S1-E5 Judo [FULL EPISODE]   ญี่ปุ่น

Human Weapon - KungFu (Full)  จีน

Human Weapon S1 E2 Eskrima [FULL EPISODE] ฟิลิปปินส์

Human Weapon - Marine Corp Martial Arts (Full)  สหรัฐฯ

Human Weapon - MMA Americas Extreme Fighting (Full) สหรัฐฯ

Human Weapon- S1-E4 Savate [FULL EPISODE] ฝรั่งเศส

Human Weapon – Sambo  รัสเซีย

Human Weapon - Silat (Full)  มาเลเซีย

Human Weapon- S1-E7 KravMaga [FULL EPISODE]  อิสราเอล

Human Weapon - Pangrateion (Full)  กรีก

 Human Weapon- S1-E12 Cambodian Bloodsport [FULL EPISODE]  กัมพูชา

Human Weapon- S1-E14 ''Passport to Pain'' [FULL EPISODE]

พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียน-มุ่งแบ่งปัน-มั่นเบิกบาน

[2407] ฟังประวัติศาสตร์สามัญชนคนอเมริกัน (StoryCorps)




สวัสดีครับ

ผมไม่แน่ใจว่าที่อื่นเขามีหรือเปล่า แต่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีเว็บไซต์ไม่หวังผลกำไร ชื่อ StoryCorps กิจกรรมหลักของที่นี่คือสัมภาษณ์และบันทึกเสียงเรื่องราวของสามัญชน โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน มีไฟล์เสียงสัมภาษณ์กว่า 40,000 ครั้ง ๆ ละ 2 – 3 นาที และมีผู้ร่วมในการสัมภาษณ์กว่า 80,000 คน

เนื้อหาที่สัมภาษณ์จึงเป็นการบันทึกเรื่องราวชีวิตที่หลากหลาย  อันสะท้อนถึงชีวิต ความรู้สึก ความผูกพัน วัฒนธรรม ฯลฯ แต่ละเมื่อสัมภาษณ์จบ StoryCorps  ก็จะเบิร์นเสียงสัมภาษณ์ลงแผ่น CD มอบให้ผู้ร่วมสัมภาษณ์ 1 แผ่นและเก็บไว้ที่ American Folklife Center  ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันอีก 1 แผ่น จนอาจจะกลายเป็นห้องสมุดประวัติศาสตร์เสียงบอกเล่าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศนี้


เว็บไซต์ของ StoryCorps  คือ http://storycorps.org/
เมื่อเข้าไปแล้วให้คลิกที่ Listen to stories  ที่คอลัมน์ซ้ายมือ
จะปรากฏเรื่องที่กลางหน้าให้ท่านคลิกฟัง 
-โดยที่แต่ละเรื่องนั้นขอให้ท่านคลิก  Read more… (ถ้ามีปุ่มนี้) หรือคลิกตัวเน้นดำที่เป็นโค๊ตคำพูดเด่นของเรื่อง
-คลิก LISTEN เพื่อฟัง (ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟล์ mp3 ให้คลิกขวาที่ LISTEN และคลิกซ้าย Save link as…)
-คลิก TRANSCRIPT ที่คอลัมน์ขวามือเพื่ออ่านบทสัมภาษณ์ (เพื่อการฝึก listening  skill ผมขอแนะนำให้ฟังหลาย ๆ เที่ยวก่อน, และค่อยมาอ่านทำความเข้าใจ transcript, และกลับไปฟังโดยไม่ต้องอ่านตาม, ท้ายที่สุด ค่อยอ่านตามขณะที่ฟัง) (Note:เรื่องเก่า ๆ อาจจะไม่มี transcript ให้อ่าน)

เมื่อต้องการฟังเรื่องอื่น ๆ ทำได้ 2 วิธี
1.คลิก  MORE STORIES ที่มุมบนของคอลัมน์ขวามือ
2.ในช่องใต้ BROWSE BY CATEGORY  ให้คลิกประเภทของเรื่องที่ต้องการฟัง

มีอีก 1 ลิงค์ที่ท่านสามารถฟังและอ่านบทสัมภาษณ์ของ  StoryCorps

คำวิจารณ์ของผมต่อเว็บนี้ก็คือ StoryCorps เป็นแหล่งที่ดีสำหรับการฝึก listening skill โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนียงอเมริกันที่เป็นธรรมชาติ ที่บอกว่าเป็นธรรมชาติก็เพราะว่า ทั้งบทพูดและสำเนียงเขาไม่ได้เตรียมทำให้มันง่ายสำหรับคนที่จะศึกษาภาษาอังกฤษ เขาพูดตามปกติอย่างไร ตอนให้สัมภาษณ์เขาก็พูดอย่างนั้น

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดก็คือ นี่น่าจะเป็นลักษณะของสังคมตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกัน ที่ผู้คนพยายามหาสถานที่บันทึกความมีตัวตนของเขาไว้ในประวัติศาสตร์  voice data เหล่านี้นอกจากสนองตอบต่อความรู้สึกของปัจเจกบุคคลแล้ว ยังเป็นแหล่งที่ใครก็ได้สามารถเข้าไปศึกษาจิตวิทยามวลชนในยุคสมัยหนึ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าทำproject อย่างนี้ในเมืองไทยจะมีผู้สนับสนุนมากน้อยแค่ไหน ยิ่งถ้าสัมภาษณ์แล้วเปิดโอกาสให้คนเข้าไปฟังได้ ถ้ามีคนไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยกับเสียงที่บันทึกไว้  จะกลายเป็นประเด็นให้ขัดแย้งไม่สิ้นสุดหรือเปล่า

พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียน-มุ่งแบ่งปัน-มั่นเบิกบาน

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

[2406] ฟิตภาษาอังกฤษกับการดูการ์ตูน Caillou




สวัสดีครับ

มีคนแนะและผมก็เห็นด้วยว่า สำหรับการฝึกฟังภาษาอังกฤษในระยะเริ่มต้นด้วยการดูภาพยนต์นั้น  ควรเลือกประเภทที่มีบทพูดเยอะ ๆ หน่อย  เนื้อหาที่ดีสำหรับการฝึกก็เช่น พวกละครน้ำเน่า หรือพวกโต้ตอบกันเยอะ ๆ เช่น โจทก์ จำเลย ทนาย ว่าความกันในศาล ส่วนหนังประเภท action ที่ไม่ค่อยพูด หรือพูดแต่ละทีก็มีแต่สบถกับสแลง ประเภทนี้ช่วยฝึก listening skill ได้ไม่ดี



ผมคิดว่าในการฟิตภาษาอังกฤษกับการดูการ์ตูน ก็ใช้คำแนะนำนี้ได้

การ์ตูน ทอมกับเจอรี่  เช่นที่ลิงค์นี้ เป็น action cartoon  คล้าย ๆ กับ action movie




มีท่านผู้อ่านแนะนำให้ดูการ์ตูน  Caillou ผมดูแล้วก็เห็นว่าดีจริง ๆ สำหรับฝึก listening skill เพราะพูดเยอะ พูดง่าย พูดชัด และเนื้อหาสนุกน่ารักแบบเด็ก ๆ

ของเข้าไปดูซีครับ
[2]http://www.youtube.com/results?search_query=intitle%3Acaillou+english%2C+playlist&lclk=playlist/a
[3] Caillou ซึ่งมี subtitle (คุณ Lee Beeza แนะนำมา)
[4]คลิกเพื่อเล่นกับ Caillou http://pbskids.org/caillou/

พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียน-มุ่งแบ่งปัน-มั่นเบิกบาน

[2405] วิธีดาวน์โหลดวีดิโอได้คราวละสิบ ๆ, ร้อย ๆ คลิปโดยคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง




สวัสดีครับ

โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลดคลิปวีดิโอ ผมใช้มาหลายอย่างแล้ว ที่ติดใจมากล่าสุดคือโปรแกรม YTD Video Downloader เพราะว่านอนสอนง่ายและไม่เรื่องมาก

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ YTD Video Downloader ที่ผมเพิ่งรู้ก็คือ มันสามารถดาวน์โหลดวีดิโอได้คราวละสิบ ๆ, ร้อย ๆ คลิปโดยคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง





อันดับแรกให้ท่านดาวน์โหลดโปรแกรมที่ลิงค์นี้และติดตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อน

ท่านใดยังติดตั้งโปรแกรมไม่เป็น คลิกอ่านวิธีทำที่นี่ครับ



เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา หน้าตาจะเป็นอย่างนี้  

ตอนใช้งานก็เพียง
-copy URL มา paste ลงในช่อง Paste URL และที่บรรทัด Save to ก็เลือกสถานที่เก็บคลิป ถ้ามีหลายคลิปจะสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาโดยเฉพาะก็ดี
-คลิก DOWNLOAD ที่มุมล่างขวาของหน้าโปรแกรม และรอให้ดาวน์โหลดครบ 100%
-ท่านสามารถดาวน์โหลดหลาย ๆ คลิปพร้อม ๆ กันได้ โดยคลิกที่ปุ่มแรก   และทำเหมือนเดิม
นี่คือการดาวน์โหลดทีละคลิป 

แต่เรายังสามารถดาวน์โหลดทีละหลาย ๆ คลิปก็ได้ โดยทำอย่างนี้ครับ
1.ไปที่ http://www.youtube.com/
2.พิมพ์คำค้นลงไป (เช่น English conversation), Enter
3.คลิก Filter, คลิก Playlist  

4.YouTube จะแสดงหลาย ๆ list (1 list มีหลายคลิป) ตามคำที่เราค้น คือ English conversation 

1 รูปคือ 1 list และที่ด้านขวาของรูปจะบอกจำนวนคลิปของแต่ละ list  เช่นตามภาพในตัวอย่าง list แรกมีทั้งหมด 86  คลิป (86 videos)
5.ถึงตอนนี้ท่านก็เลือกว่าจะดาวน์โหลด list ไหน  โดยคลิกภาพ  ที่ท่านต้องการ เพื่อดูเนื้อหาของแต่ละ list
6.การดูแต่ละคลิปคร่าว ๆใน list นั้น ในคลิกที่รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านล่างของจอ


ถ้าไม่มีแถบนี้,  ให้คลิก รูปหัวเหลี่ยมชี้ขึ้น ที่อยู่ท้ายแถบ  ที่ลูกศรชี้

7.หลังจากดูหลายคลิปคร่าว ๆ แล้ว ท่านตัดสินใจจะดาวน์โหลด list นี้ (ซึ่งมี 86  คลิป) ก็ให้  copy URL มา paste ลงในช่อง Paste URL, เมื่อเลือก Save to แล้ว ก็คลิก Download
8. มันจะมีภาพนี้ขึ้นมา 
ซึ่งหมายความว่า  ถ้าท่านคลิก No มันจะดาวน์โหลดเฉพาะคลิปที่ท่านกำลังเปิด, ท่านคลิก Yes มันจะดาวน์โหลดทุกคลิปใน list นั้น (ถ้าเน็ตช้า และคลิปขนาดใหญ่ คงต้องใช้เวลาดาวน์โหลดนานสักหน่อย)
ถึงตรงนี้ท่านไม่ต้องทำอะไรแล้วล่ะครับ  แค่รอ และทำงานอย่างอื่น

ผมเคยแนะนำลิงค์ YouTube ที่มี list คลิปวีดิโอที่น่าสนใจมากมายให้ดาวน์โหลด ที่นี่  [2378] เรียนภาษาอังกฤษผ่านวีดิโอ
ตรง Featured Playlists นั่นแหละครับ บาง list มีเป็นร้อย ๆ คลิป น่าสนใจ, ดี ๆ ทั้งนั้น
หวังว่าท่านจะได้วิธีดาวน์โหลดคลิปวีดิโอเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษได้อย่างมากมาย โดยขยับนิ้วเพียงไม่กี่ครั้ง


หมายเหตุ:

หลังจากที่ท่านดาวน์โหลดไปได้หลายสิบ/หลายร้อยคลิป, YouTube อาจจะมีหน้าต่างผุดขึ้นมาขอให้ท่านเติม Gmail และ password   แต่ถ้าท่านยังไม่มี ก็สมัครได้ที่  https://accounts.google.com/SignUp, และใช้
 Gmail และ Password ที่สมัครแล้วนี้เติมในหน้าต่างที่ผุดขึ้นมานี้

พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียน-มุ่งแบ่งปัน-มั่นเบิกบาน

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

[2405] เรียนสนทนาภาษาอังกฤษกับ Australia Network Learning English




สวัสดีครับ

เว็บข่าวที่มีบริการสอนภาษาอังกฤษฟรีอย่างจริง ๆ จัง ๆ ผมเจออยู่ 3 เว็บ คือ






เว็บอเมริกัน
เว็บอังกฤษ
เว็บออสเตรเลีย
ผมยังไม่ค่อยได้แนะนำเว็บของออสเตรเลีย  วันนี้จึงขอแนะนำ

เมื่อเข้าไปแล้วมีเรื่องใหญ่ ๆ ที่ให้ศึกษา ดังนี้
This 15-part series for intermediate to advanced English language learners looks at the language used in everyday business situations such as meetings, presentations and negotiations.

Living English is a 42-part series that looks at the English language used in everyday situations such as checking into a hotel or describing people. An episode will be posted each week.

English Bites is an informative and entertaining way for intermediate to advanced English speakers to learn common terms and English usage.
Learning Level: Intermediate – Advanced

Passport to English provides you with the opportunity to experience what it is like to sit a formal English language interview for assessment purposes. Complete series of 21 episodes is now available.
Learning Level: Intermediate

Ten Words About explains the meaning of ten words from each episode of 'This Australian Life'. Complete series of 10 episodes available.


(6) ถ้าท่านต้องการดูเฉพาะวีดิโอ ไปที่ลิงค์ YouTube ของเว็บ


พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียนมุ่งแบ่งปันมั่นเบิกบาน

[2404] เรียนภาษาอังกฤษจากสังคม online


สวัสดีครับ
พวกเราที่ศึกษาภาษาอังกฤษจากอินเทอร์เน็ต มีวิธีใหญ่ ๆ อยู่ 2 วิธี คือ ไปยังเว็บไซต์ที่ให้ความรู้โดยตรง ทั้งเว็บไทยและเว็บอังกฤษ เช่น
หรือไม่ก็ไปที่ Search Engine เช่น www.google.com  และพิมพ์คำค้นลงไป เพื่อหาเรื่องที่ต้องการศึกษา

แต่มีอีก 1 วิธีที่ผมขอแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือการเรียนภาษาอังกฤษจากสังคม online ก็คือว่า มีเว็บบางเว็บเป็นคล้าย ๆ สถานที่ที่คนในโลก online มาเจอและพูดคุยกันในสารพัดเรื่อง รวมทั้งเรื่องการศึกษาภาษาอังกฤษด้วย คำถาม, คำตอบ, ความเห็น, ความรู้ จากเว็บเหล่านี้ อาจจะมีความเป็นทางการ น้อยกว่าเว็บที่ผู้เชี่ยวชาญสร้างขี้นมา แต่ก็มีบางแง่มุม บางประเด็น ที่น่าสนใจ น่าหยิบจับอยู่เหมือนกัน

วิธีหาเรื่องราวเกี่ยวกับภาษาอังกฤษในเว็บเหล่านี้ก็ทำได้ไม่ยาก โดย
-ไปที่ Google Advanced Search http://www.google.ca/advanced_search
-พิมพ์เว็บที่เป็น สังคม online ลงไปในช่อง  site or domain, เช่น www.facebook.com
-พิมพ์คำค้นลงไปในช่อง Find pages with... เช่น คำว่า ภาษาอังกฤษ
-ตรงช่อง terms appearing: อาจจะเลือก in the title of the page ก็ได้

ข้างล่างนี้ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ที่ได้จากเว็บสังคม online ผมนำมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ท่านลองเลือกดูแล้วกันครับ อาจจะมีหลายลิงค์ที่ท่านสนใจ หรือสนใจมาก
www.facebook.com 
www.pantip.com 
www.oknation.net 
www.gotoknow.org 
www.youtube.com


พิพัฒน์ 
ไม่เบียดเบียนมุ่งแบ่งปันมั่นเบิกบาน

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

[2403] อ่าน – ฟัง นิทานอีสป ไทย ควบ อังกฤษ



สวัสดีครับ

นิทานอีสปที่ผมนำมาฝากวันนี้ มี  3 แบบ

ผมอยากให้ท่านลองอ่านแบบที่  1 ก่อน, ถ้าไม่ค่อยรู้เรื่องจึงอ่านแบบที่ 2, ส่วนแบบที่ 3 นั้นให้อ่านหลังสุด  หรือไม่อ่านเลยก็ได้

 [1] ภาษาอังกฤษอย่างเดียว
อ่าน:http://www.gutenberg.org/files/21/21-h/21-h.htm



ถ้าต้องการดาวน์โหลดไฟล์เสียง ให้ดูที่ใต้บรรทัด Individual Files, คลิกขวาที่ลิงค์ในคอลัมน์  mp3, และคลิกซ้าย Save as….
ดูวีดิโอ Aesop’s Fables ที่ YouTube

[2]  ภาษาอังกฤษ  ควบ ภาษาไทย
http://sukumal.brinkster.net/isoppu/isoppu.index.html     (เฉพาะบางเรื่องมีภาษาอังกฤษ เทียบ)

 [3] ภาษาไทยล้วน ๆ
http://writer.dek-d.com/142954455/story/view.php?id=692487)

ดูวีดิโอนิทานอีสปที่ YouTube


พิพัฒน์

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

[2402] คุยเรื่องแหล่งดาวน์โหลดฟรีในอินเทอร์เน็ต



สวัสดีครับ
นับตั้งแต่มีอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมาในโลก ชาวไทยและชาวโลกก็ได้อาศัยสิ่งนี้เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการเสริมทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง  ทั้งการศึกษาขณะต่อเน็ต (online) และดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเน็ตมาศึกษาขณะที่ไม่ได้ต่อเน็ต (offline)  ทั้งนี้ ผู้ผลิตเนื้อหาที่ให้ชาวโลกศึกษาและป้อนเข้าไปในเน็ตก็มักเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็น native speaker เช่น ชาวอเมริกัน และชาวอังกฤษ เป็นต้น

ในการศึกษาขณะต่อเน็ต มีเว็บไซต์มากมายที่ดีจริง ๆ เช่น ที่ผมเคยแนะนำไว้ที่ลิงค์นี้

อันที่จริงก็มีเว็บภาษาไทยจำนวนไม่น้อย ที่ผู้รู้ชาวไทยทำขึ้นมาเพื่อสอนภาษาอังกฤศให้แก่คนไทย เช่นที่นี่ รวมเว็บไทย สอนภาษาอังกฤษ 

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บฝรั่งอย่างที่ผมยกตัวอย่างนั้น  ก็ต้องยอมรับความจริงว่า เว็บไทยสู้เว็บฝรั่งไม่ได้ ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ที่พูดมาทั้งหมดนี้คือการศึกษาขณะต่อเน็ต หรือ online

แต่อินเทอร์เน็ต  ก็มีอีก 1 ทางเลือกให้เราศึกษาภาษาอังกฤษ คือ  offline คือ เขาจะมีไฟล์ทุกประเภทให้เราดาวน์โหลดมาศึกษาโดยไม่ต้องต่อเน็ต  ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หนังสือ (eBook), ไฟล์เสียง, ไฟล์วีดิโอ, เกม, โปรแกรม, ภาพ   หลายเว็บข้างต้นที่มีบริการให้ศึกษา online ก็มีไฟล์ให้เราดาวน์โหลดไปศึกษาอย่างไม่คิดมูลค่า   และก็มีอีกหลายเว็บที่เป็นแหล่งดาวน์โหลดล้วน ๆ เช่นข้างล่างนี้ที่มีคนรู้จักมาก
http://librivox.org/     (audio book)

อย่างไรก็ตาม แม้ของที่ให้จะไม่คิดเงินแต่หนังสือในเว็บข้างต้นนี้มักเป็นหนังสือเก่า ที่พิมพ์มาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่กฎหมายลิขสิทธิ์จะมีผลบังคับใช้  หรือแม้เป็นหนังสือใหม่ แต่ก็ให้ดูไม่กี่หน้า  ไม่ให้ดูทั้งเล่ม  ถ้าต้องการซื้อไฟล์หนังสือใหม่ทั้เล่มมาดู ต้องเสียเงินซื้อจากเว็บขายหนังสือ ที่รู้จักกันดีก็เช่น  http://www.amazon.com/

ผมเข้าใจว่า คงมีชาวโลกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สะดวกที่จะควักเงินซื้อ อาจจะเพราะไม่มีเงินพอที่จะซื้อ หรือมีแต่ไม่อยากจ่าย  หรือทั้งสองอย่างปนกันในคนเดียว  ด้วยเหตุนี้จึงมีเว็บไซต์ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก เอาไฟล์หนังสือที่มีลิขสิทธิ์หวงห้ามมาลงให้คนดาวน์โหลดฟรี ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการเช่นนี้  พร้อมทั้งมีคำแนะนำไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดด้วย  เช่นเว็บข้างล่างนี้

บางเว็บก็เพียงแต่บอกชื่อหนังสือ ไม่มีคำแนะนำ ที่เราอาจจะคุ้นชื่อ เช่น ข้างล่างนี้

เว็บเหล่านี้ไม้ได้มีเนื้อที่เก็บไฟล์ด้วยตัวเอง แต่เอาไฟล์ไปฝากไว้ที่เว็บฝากไฟล์อื่น ๆ เช่น  Rapidshare, Hotfile, 4shared, Mediafire, Depositfiles เป็นต้น

เว็บฝากไฟล์ทุกเว็บจะมีข้อความประกาศไว้ว่า เว็บของตนไม่สนับสนุนการฝากไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย และหลายครั้งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ประท้วงว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของเขาเอาไฟล์ไปฝาก เจ้าของเว็บก็จะปลดไฟล์นี้ออก เราจึงพบว่าหลายลิงค์ที่ก่อนนี้ดาวน์โหลดได้ ตอนนี้ดาวน์โหลดไม่ได้แล้ว  กลายเป็นลิงค์ตาย หรือ dead link  แต่ไฟล์เดียวกันที่มีคนอื่นนำไปฝากที่เว็บเดียวกันหรือเว็บอื่นก็อาจจะมีอยู่ เป็นลิงค์ที่ยังไม่ตาย ถ้าขยันหาก็อาจจะเจอ

ไฟล์ละเมิดลิขลิทธิ์ทำนองนี้ มีการนำมา burn ใส่แผ่นขาย  ซึ่งแน่นอนว่าราคาย่อมถูกว่าราคาไฟล์ลิขสิทธิ์หลายเท่า ผมเดินทางไปหลายประเทศในแถบอาเซียนก็ได้เห็นว่า มีแผ่นผีพวกนี้ขายไม่น้อยกว่าเมืองไทย

แผ่นผีพวกนี้ มีทั้งเพื่อความบันเทิงและการศึกษา ผมมาคิดเล่น ๆ ว่า เฉพาะแผ่นผีที่เกี่ยวกับการศึกษา ถ้าเมืองไทยไม่มีการละเมิดขาย-ละเมิดซื้อแม้แต่แผ่นเดียว รวมทั้งไม่มีการดาวน์โหลดไฟล์ผีแม้แต่ไฟล์เดียวจากเว็บที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยที่ไม่มีเงินซื้อของถูกกฎหมาย คงจะต่ำกว่านี้อีกเยอะ  

มีสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือมีเว็บภาษาต่างชาติ (ไม่รู้ว่าภาษาอะไร  อาจจะอารบิก)  เขาก็มีเว็บให้ดาวน์โหลดไฟล์ฟรีทำนองนี้   และบางเว็บก็มีที่ฝากไฟล์ของตัวเองด้วย ไม่ต้องไปฝากไว้ที่เว็บภายนอก ผมเข้าใจว่า การทำลักษณะนี้ จะทำให้ลิงค์ดาวน์โหลดไม่กลายเป็น dead link ง่าย ๆ (ถ้าเขาไม่สนใจคำประท้วงของเจ้าของหนังสือ)

เช่นนี้เว็บนี้ http://www.kardoonline.com/
 -มีช่อง Search ที่มุมบนขวาของหน้า
-มี Categories ถัดลงมาในคอลัมน์ขวา คือประเภทของไฟล์ที่มีให้ดาวน์โหลด
-เมื่อคลิกที่แต่ละลิงค์ เข้าไปแล้วให้คลิกRead More… ที่มุมล่างด้านซ้ายของลิงค์นั้น
-คลิกแถบสีน้ำเงินเข้ม Download  ซึ่งบอกจำนวน MB ของไฟล์ด้วย
-Password ตอนแตกไฟล์ คิอ www.kardoonline.com

ผมเดาว่าเว็บทำนองนี้ของเมืองจีนน่าจะมีเช่นกัน

พิพัฒน์