สวัสดีครับ
ถ้ามีครูสอนพูดภาษาอังกฤษก็ดีไป
แต่ถ้าไม่มีก็ใช่ว่าจะโชคร้าย
เพราะเราสามารถให้คอมฯสอนแทนได้
ขอเพียงให้เราเป็นลูกศิษย์ที่ดีสักหน่อย
อย่าดื้อนัก เรียนกับครูคอมฯก็อาจจะได้ผลไม่แพ้เรียนกับครูคนก็เป็นไปได้
ที่ยากที่สุดไม่ใช่เนื้อหาที่จะเรียน แต่คือใจที่จะเรียน ถ้าเรียนด้วยใจที่ยอมแพ้ท้อแท้ตั้งแต่ต้น, ใจที่ร้อนรนกระวนกระวาย, ใจที่หิวเกินเหตุ, ใจที่อยากเก่งเกินอยากฝึก,
ใจที่อายไม่กล้าพูดเพราะกลัวผิด, ใจที่อ่อนแอไม่รู้จักอึด, เพียงแค่รู้สึกเซ็งท้อเหนื่อยเล็กๆน้อยๆก็หยุดง่าย
ๆ, เรียนอย่างคนที่ใจไม่มีกระดูก ฯลฯ ถ้าเรียนด้วยใจอย่างนี้ ต่อให้มีบทเรียนและครูที่ดีเลิศประเสริฐศรีเพียงใดก็คงเรียนไม่ได้เรื่อง
บทเรียนส่วนใหญ่สำหรับฝึกพูดคุย
–ฝึกเล่าเรื่อง กับคอมฯ ไม่เหมาะสำหรับคนใจนิ่ม
ๆ ชอบแต่ของง่าย ๆ ใช้ความพยายามเพียงน้อยนิด แต่ฝันหวานให้เก่งปุ๊บปั๊บฉับพลัน หลายคนชอบเรียนภาษาอังกฤษอย่างคนซื้อลอตเตอรี่
คือเสียเงินซื้อแค่ 110 บาทแต่หวังรางวัลที่
1 เป็นล้านๆ
คนอย่างนี้มีเยอะ เป็นคนขี้เกียจที่ขี้แพ้
แต่เราอย่าเป็นคนอย่างนั้นเลยครับ
การพูดโดยทั่วไป มี 2 อย่าง คือ พูดคุย และ พูดเล่าเรื่อง
การพูดคุย -คือพูดทีละวรรค
ทีละประโยค เธอพูดที ฉันพูดที
การพูดเล่าเรื่อง –
ระหว่างที่พูดคุยนั้น บางจังหวะเราก็มี story
ที่ต้องเล่า และต้องเล่ายาว ๆ คราวละหลายประโยค
การฝึกพูด
จึงต้องพูดให้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ พูดคุย
และ พูดเล่าเรื่อง
ถ้าเรามีครูที่สอนเก่ง
ๆ ก็ถือว่าโชคดี เพราะว่าเราเป็นคน เราจึงอยากเรียนกับคนซึ่งเป็น
species เดียวกันมากกว่าเรียนกับคอมฯ
ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง species, นอกจากเนื้อหาของความรู้แล้ว
เรายังได้ความมั่นใจ ความอบอุ่นใจ กำลังใจ และความใกล้ชิด เราได้เห็นครูเดินไปเดินมา ได้ยินเสียงครูพูด
ได้เห็นปากครูขยับตอนพูด ได้เห็นครูตอบโต้เราเมื่อเราพูดกับครู ฯลฯ บรรยากาศในห้องเรียนทำนองนี้เป็นบรรยากาศอัน
“ศักดิ์สิทธิ์” ที่ทำให้ผู้ใหญ่ที่ผ่านวัยห้องเรียนมาก่อนมีความรู้สึกฝังใจว่า
ถ้าจะเรียนพูดภาษาอังกฤษให้เป็นและเก่ง จะต้องผ่านบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ของห้องเรียนที่ขาดครูไม่ได้
เหมือนเข้าไปกินอาหารที่ร้านสุกี้
กลางโต๊ะก็ต้องวางหม้อต้มน้ำซุปเพื่อปรุงสุกี้ ขาดหม้อสุกี้จะเรียกว่ากินสุกี้ได้อย่างไร?
ขาดครูสอนภาษาอังกฤษจะพูดภาษาอังกฤษให้เป็นได้อย่างไร?
ผมขอบอกว่า
ขอให้ท่านลบล้างภาพเดิมออกไปให้สิ้น การเรียนกับครูนั้นเป็นเรื่องดีถ้ามีครูให้เราเรียนด้วย
แต่ถ้าด้วยความขัดข้องอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้การฝึกพูดภาษาอังกฤษของเราในวันนี้ไม่มีครูที่เป็นคน
มีแต่ครูที่เป็นคอมฯ ผมขอบอกว่า เราก็ยังสามารถเรียนกับครูคอมฯ ใน “คอร์สส่วนตัว”
ที่บ้านของเราได้
การเรียนพูดภาษาอังกฤษกับครูที่เป็นคอมฯ ต้องทำยังไงบ้าง ต้องทำอย่างนี้ครับ
การเรียนพูดภาษาอังกฤษกับครูที่เป็นคอมฯ ต้องทำยังไงบ้าง ต้องทำอย่างนี้ครับ
1. มองให้เห็นความจริง และเชื่อในความจริงนี้ว่า
เรียนกับคอมฯก็ได้ผลไม่แพ้เรียนกับครู
มีแต่ใจที่กล้าหาญฮึกเหิมเช่นนี้เท่านั้นแหละครับ ที่จะเรียนได้ผล
2. ให้หูทำงานเป็น
2 เท่า, เมื่อเราเรียนกับครูในห้อง เรามีตาช่วยทำงาน และมีบรรยากาศในห้องเรียนเป็นตัวช่วย
หรือ accessory แต่เมื่อเรียนกับคอมฯ
เรามีแค่ 2หูล้วน ๆเท่านั้นเป็นเครื่องมือสำหรับเรียน เพราฉะนั้น
เราจึงต้องเอาสมาธิไปแปะไว้ที่รูหู รอจับคลื่นเสียงที่จะผ่านเข้าไปให้อยู่หมัด
ถ้าครั้งที่ 1 ยังจับไม่ได้
ก็ฟังซ้ำครั้งที่ 2, 3, 4, 5 …. เป็น 10 ๆ ครั้งก็ฝึกฟังไปเถอะครับ โดยให้ท่านคลิก
play/pause, backward, forward เท่าที่ต้องการ ในแง่นี้ครูคอมฯ ใจดีกว่าครูคนซะอีก
เพราะถ้าครูเป็นคน เมื่อเราฟังไม่ทัน, ฟังไม่รู้เรื่อง, หรือฟังจับสำเนียงหรือถ้อยคำไม่ชัด
เราคงเกรงใจไม่กล้าขอให้ท่านพูดซ้ำ ๆ เป็น 10 ครั้ง แต่ครูคอมฯ เราขอให้ท่านทำได้ และท่านก็ไม่โกรธ
3.เว็บฝึกพูดภาษาอังกฤษมากมาย
มีทั้ง mp3 ให้เราคลิกฟัง และข้อความเป็นประโยคให้เราอ่าน เราจะฝึกอย่างไรก็ได้ตามใจเรา เช่น
-ฝึกฟัง และพูดตาม (play/pause) โดยไม่ต้องอ่าน
-ฝึกฟังและพูดตาม (play/pause) และพูดตามโดยอ่านประโยคไปพร้อมกัน
-ฝึกอ่านประโยคสนทนาให้เข้าใจกระจ่างเสียก่อน แล้วจึงฝึกฟังและพูดตาม (play/pause) โดยไม่ต้องเหลือบไปดูอีก
-ฝึกฟังและพูดตาม
โดยในครั้งแรก ๆ ก็อ่านตาม, แต่ครั้งหลัง ๆ ชักเก่งขึ้น ก็ไม่ต้องอ่าน
Tip: บางเว็บ
เมื่อเราคลิกไฟล์ mp3 เพื่อฟัง เราอาจจะต้องให้มันเปิดใน tab
ใหม่ (open in new tab) เพื่อจะได้สามารถอ่าน transcript
ในหน้าต่างเดิม
4.อย่ามี “มิจฉาทิฐิ”
เข้าใจไปว่า ฟัง “ไม่รู้เรื่อง” คือ “ไม่ได้เรื่อง”
เพราะว่า จริง ๆ แล้วมันได้เรื่อง ทั้ง ๆ ที่อาจจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องนั่นแหละครับ
ข้อนี้ผมขอไม่อธิบาย ท่านลองฝึกฟังไปเรื่อย ๆ
ก็จะเข้าใจสิ่งที่ผมพูดนี้ว่าหมายความว่าอย่างไร
5.ฝึกฟัง-ฝึกพูดตาม
ทุกวัน ทั้งวันที่อยากเรียน และวันที่เบื่อเรียน วันละเท่านั้น-เท่านี้นาที
ตามที่ตั้งเป็นการบ้านไว้ให้ตัวเอง (สำหรับผม, ผมตั้งใจว่า จะฝึกฟังทุกวัน ๆ ละ 20
– 30 นาที) ถ้าวันใดขยันท่านจะฝึกเยอะ ๆ ก็ตามใจ แต่ถ้าวันใดไม่มีเวลา-เหนื่อย-เบื่อ-ขี้เกียจ
ก็ฝึกให้ได้ minimum เช่น 15 นาทีตามที่ตั้งใจไว้
ขอให้ทำให้กิจกรรมการฝึกภาษาอังกฤษเป็นกิจวัตรอันศักดิ์สิทธิ์
อานิสงศ์จะส่งเสริมโดยเราอาจจะไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ (คำว่า ศักดิ์สิทธิ์ แปลว่า ตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้)
6.ถ้าต้องการดิกชันนารี
ไปที่นี่ครับ www.online-english-thai-dictionary.com
ท่านใดอ่านมาถึงบรรทัดนี้
และต้องการทำให้การฝึกฟัง-ฝึกพูดภาษาอังกฤษเป็นกิจวัตรประจำวันอันศักดิ์สิทธิ์
เชิญไปที่เว็บข้างล่างนี้ครับ (ยกมาพอเป็นตัวอย่าง)
1.เว็บฝึกพูดคุย
เลือกที่วลีและศัพท์ เพื่อฟังเสียง
เว็บ 1
เว็บ 2
เว็บ 3
http://www.manythings.org/audio/sentences/1227.html ()คลิก Random Page เพื่อเปิดหน้าใหม่
2.เว็บฝึกการพูดประโยคเพื่อเล่าเรื่อง
Listen and Read Along
(Flash/MP3)
ในหน้านี้มี 2 คอลัมน์ คือซ้าย กับ ขวา
ในคอลัมน์ซ้ายมือ มีคำอธิบายการใช้งานดังนี้
ซึ่งแต่ละวงกลมมีความหมาย
จากซ้ายไปขวาดังนี้
วงกลม 1: ย้อนถอยหลังไปยังประโยคแรก
วงกลม 2: ย้อนหลังไป 1ประโยค
วงกลม 3: Play/Pause
วงกลม 4: เดินหน้าไป 1 ประโยค
วงกลม 5: คลิกเพื่อกำหนดว่าจะฟังกี่เที่ยว (1,2,3
เที่ยว, เลข 8 นอนตะแคง คือฟังประโยคนั้นซ้ำ ๆ
ตลอดไป)
ท่านสามารถคลิก play/pause เพื่อฟัง ทีละ 1 ประโยค หรือถ้าต้องการฟังแค่ 1 วรรค ก็คลิก pause
ให้หยุดและฝึกพูดตามทีละวรรคก็ได้
ในคอลัมน์ขวามือ
มีคำอธิบายการใช้งานดังนี้
เมื่อคลิกที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ท่านจะเห็นว่า ที่กลางหน้า มีภาพดังนี้
-เสียงที่ท่านได้ยินจะเป็นประโยค
สีดำ
-ถ้าท่านต้องการฟังประโยคใด
ก็คลิกที่ประโยคนั้นได้ (คือ คลิกฟังซ้ำ, คลิกฟังประโยคย้อนหลังที่ฟังแล้ว, หรือคลิกฟังประโยคที่อยู่ข้างหน้า)
-เมื่อฟังแล้วก็คลิก pause ให้หยุดก่อนเพื่อฝึกพูดตาม
และจึงค่อยคลิก paly
ขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการฝึกพูดคุย
–ฝึกเล่าเรื่อง กับคอมฯ โดยไม่มีครู
พิพัฒน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น