สวัสดีครับ
ผมเชื่อว่าคนไทยเราส่วนใหญ่เมื่ออ่านหนังสือหรือฟังธรรมะ ก็มักจะเป็นธรรมะที่พระภิกษุหรือฆราวาสผู้รู้เขียนหรือบรรยาย คงมีไม่มากนักที่จะอ่านถ้อยคำที่เป็นพุทธพจน์โดยตรง คือหนังสือพระไตรปิฎกหรือหนังสือที่เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก เช่นหนังสือชุด ‘จากพระโอษฐ์’ ผลงานของท่านอาจารย์พุทธทาส
ในขณะที่ชาวคริสต์อ่านไบเบิ้ล ชาวมุสลิมอ่านกุรอ่าน แต่ทำไมชาวพุทธไม่ค่อยอ่านพระไตรปิฎกโดยตรง ถ้าจะให้เดา ผมก็เดาว่ามีสาเหตุง่าย ๆ 2 ข้อ คือ 1) พระไตรปิฎกมีทั้งหมด 45 เล่ม อ่านไม่ไหวครับ 2) เนื้อหาและสำนวนภาษา อ่านแล้วไม่เข้าไปถึงใจ เลยขออ่าน ‘พระธรรม’ที่แสดงโดย ‘พระสงฆ์’ มากกว่าพระธรรมที่แสดงโดย ‘พระพุทธ’
(เอ๊ะ ที่จริงเราก็อ่าน ‘พุทธพจน์’ อยู่เหมือนกันครับ ก็บททำวัตรสวดมนต์เช้า – เย็น นั่นแหละครับ คือพุทธพจน์ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นมนต์พิธีนะครับ)
ผมเคยอ่านพบว่า พุทธพจน์ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้น ‘ธรรมบท’ ซึ่งอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 เป็นพุทธพจน์ที่ได้รับการแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษเกิน 100 เวอร์ชั่น และมีผู้อ่านมากที่สุดในโลก สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากความงดงามและกระชับของถ้อยคำภาษา ความลึกซึ้งของคำสอน ซึ่งนำเอาไปปฏิบัติตามได้ทั้งทางโลกและทางธรรม
นอกจากตัว ‘ธรรมบท’ ซึ่งเป็นคำสอนโดยตรงแล้ว ในคัมภีร์ลำดับถัดมาคืออรรถกถา ก็มี ‘นิทานธรรมบท’ ซึ่งเล่าเรื่องเบื้องหลังก่อนที่พระพุทธเจ้าจะกล่าวธรรมะที่เป็นธรรมบทแต่ละบท
ผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านลองเข้าไปอ่าน ‘ธรรมบท’ และ ‘นิทานธรรมบท’ จากเว็บข้างล่างนี้ ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ธรรมะนั้นเป็นสิ่งงดงาม ภาษาธรรมะไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็งดงามเช่นกัน แต่ความเข้าใจในธรรมะเมื่อประจักษ์แจ้งในใจยิ่งงดงามมากขึ้นไปอีก
ธรรมบท แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 ลิงค์ที่ 1
จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 ลิงค์ที่ 2
จาก อรรถกถา อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ข้อ [๑๑] ถึง [๓๗]
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก [คลิกอ่านคำแนะนำเพิ่มเติม ]
ธรรมบท แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ
กล่าวถึงเวอร์ชั่นที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
สำนวนแปลภาษาอังกฤษต่อไปนี้ ผมเรียงลำดับจากที่ผมเห็นว่าอ่านง่ายไปยาก ท่านอาจจะชอบไม่เหมือนผม ลองอ่านดูคร่าว ๆ ทุกเล่มก็ดีครับ
(1) By Ajahn Munindo
(2) By Daw Mya Tin, M.A. (มีเรื่องประกอบแต่ละบทด้วย)ลิงค์ที่ 1
(2) By Daw Mya Tin, M.A. (มีเรื่องประกอบแต่ละบทด้วย)ลิงค์ที่ 2
(3) Gambhiro Bhikkhu (Illustrated)
(4) Treasury of Truth: Illustrated Dhammapada by Ven W Sarada Maha Thero มีภาพและคำอธิบายประกอบ
(5) byThanissaro Bhikkhu
(6) by. Acharya Buddharakkhita เว็บที่ 1
(6) by. Acharya Buddharakkhita เว็บที่ 2
(7)by Bhikkhu Varado
(8)by John Richards ลิงค์ที่ 1
<(8)by John Richards ลิงค์ที่ 2
(9)by Thomas Byrom
(10) by F. Max Müller
(11) by Harischandra Kaviratna
ศึกษาเพิ่มเติม
รวมเว็บธรรมะที่น่าสนใจ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ชมรมเวบพระพุทธศาสนา
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
คุณพิพัฒน์คะ ดิฉันว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คุณพูดหรอก ดิฉันทำงานกับบริษัทคนอังกฤษ มีเจ้านายเป็นคนอังกฤษ และฮอลแลนด์ ต้องโต้ตองเมลล์เป็นภาษาอังกฤษและพูดภาษาอังกฤษกับเจ้านายทุกวัน ดิฉันทำงานมาเกือบปีแล้ว แต่ว่าภาษายังอยู่เท่าเดิม พูดไม่ได้สักที จะคุยกับเจ้านายก็ต้องพูดเป็นคำๆไป แต่ไม่เป็นประโยชน์สักที ดิฉันว่าเราต้องเรียนค่ะ เพราะฝรั่งถ้าเค้าเข้าใจในสิ่งที่เราพูด แต่ว่ามันผิดประโยคเค้าก็ไม่สอนหรอกค่ะ เอาแค่รู้เรื่องว่าหมายความว่าไงก็พอแล้ว คุณคิดว่าถ้าการอ่านการฟังและพูดผิดๆอยู่เรื่อยๆ นั้นเพียงพอแล้วเหรอคะ
คุณครับ ผมเชื่อว่าการสามารถสื่อสารด้านภาษาเป็นทักษะที่ต้องเรียนไม่รู้จบ เรียนได้หลายวิธี และเรียนได้จากหลายแหล่ง การพูดผิด ๆ ติด ๆ ขัด ๆ นั้นเป็นเรื่องธรรมดาของการเรียนภาษาต่างชาติ แต่การฝึกฝนจะช่วยลดปริมาณของความผิดพลาดลงถ้าเราดึงสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้หลายวิธีนั้นมาปรับปรุงตนเอง นี่คือสิ่งที่ผมพบมาด้วยตัวเอง และต้องการแลกเปลี่ยนกับทุกท่านครับ- พิพัฒน์
แสดงความคิดเห็น