สวัสดีครับ
ถ้าเราจะฝึกจนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เช่น Bangkok Post ได้เหมือนอ่านไทยรัฐหรือเดลินิวส์ เราจะทำได้ไหม? และถ้าทำได้จะต้องทำยังไง?
ผมขอเล่าประสบการณ์ของตัวเองสักนิดนะครับ ตอนผมเริ่มเรียนปี 1 ผมบอกตัวเองว่าก่อนขึ้นปี 2 จะต้องอ่าน Bangkok Post ให้รู้เรื่องเหมือนอ่านไทยรัฐ ฉะนั้น (แทบ) ทุกวัน เมื่อกลับถึงบ้านผมจะนั่งที่โต๊ะอ่านหนังสือ เอาเชือกผูกเอวตัวเองไว้กับพนักเก้าอี้ และอ่านให้จบอย่างน้อย 1 หน้าก่อนลุกไปไหน ถ้าจะลุกก่อนจบก็เอาเก้าอี้ไปด้วย ทำอย่างนี้จนเรียนจบปี 1 ผลปรากฏว่าก็ยังไม่สามารถบันดาลให้ Bangkok Post กลายเป็นไทยรัฐไปได้ แต่… มันอ่านรู้เรื่องขึ้นเยอะครับ เพราะก่อนหน้านี้ Bangkok Post สำหรับผมมันยากพอ ๆ กับหนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า ยังไง ยังงั้นเลยครับ
วิธีฝึกตัวเองข้างต้นนี้มันออกจะดิบไปสักหน่อย แต่ก็คุ้มค่า แต่ผมคิดว่าคนที่พยายามอย่างดิบ ๆ ก็น่าจะมีอยู่มากพอสมควร เมื่อไม่นานมานี้ผมรู้จักคน ๆ หนึ่งอายุมากแล้ว เขาเล่าให้ฟังว่าเขาเริ่มฝึกอ่าน Bangkok Post ตั้งแต่เป็นเด็กอาชีวะซึ่งภาษาอังกฤษไม่ค่อยดี พอได้คำศัพท์ใหม่มาก็เขียนลงกระดาษแผ่นเล็ก ๆ เอาไปแปะที่ฝาห้องนอนและท่อง ทำอย่างนี้อยู่ 15 ปี ทุกวันนี้และหลายปีมาแล้วเขาอ่าน Bangkok Post รู้เรื่องโดยไม่ต้องเปิดดิก
สองตัวอย่างนี้ตอบคำถามข้างบนเรียบร้อยแล้ว คือ (1) เราจะฝึกจนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษได้เหมือนอ่าน นสพ.ไทยได้หรือไม่? ตอบว่าได้ (2)ต้องทำยังไง? ตอบว่า ก็อ่านไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อได้อ่านก็จะอ่านได้ อ่านให้ได้ปริมาณไปเรื่อย ๆ คุณภาพจะตามมาเอง แต่ถ้าไม่ยอมอ่านก็จะอ่านไม่ได้
ผมมานั่งนึกย้อนหลังว่า แม้จะสอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษมาแล้วหลายวิชาจากมหาวิทยาลัย แต่ทำไมการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษจึงยังเป็นเรื่องยาก ข้างล่างนี้เป็น 2 อุปสรรคใหญ่ที่ผมพบ ผมเข้าใจว่าใครก็ตามที่ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องต้องเอาชนะอุปสรรค 2 ข้อนี้ให้ได้
อุปสรรคข้อที่ 1: ไม่เข้าใจโครงสร้างประโยค
การเขียนข่าวมักใช้สำนวนภาษาที่กระชับ ‘ภาษาข่าว’ จึงอาจทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยงงได้ ที่พบบ่อยก็คือ ใช้วลีหรืออนุประโยคที่ชวนสับสน เช่น เป็นกลุ่มคำนาม กลุ่มคำกริยา กลุ่มคำขยาย ขยายกันไปขยายกันมา ขยายซ้อนขยาย สองซ้อน สามซ้อน ขยายจนไม่รู้ว่าอะไรขยายอะไร บางทีประโยคเดียวยาวตั้ง 3 – 4 บรรทัด พออาจารย์ถามว่าอะไรคือกริยาหลักก็เลยงงเต๊ก !
ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่สามารถแยกแยะโครงสร้างประโยคอย่างกระจ่าง ก็ยากครับที่จะแน่ใจว่าอ่านรู้เรื่อง 100 % ยิ่งถ้าไปอ่านเนื้อเรื่องที่ซับซ้อนหรือ serious หรือเรื่องที่เราไม่คุ้นเคยยิ่งต้องแม่นเรื่องโครงสร้างประโยค
ผมขอแนะนำให้ท่านลองศึกษาเว็บข้างล่างนี้ครับ
[11] เว็บสำหรับท่านที่ต้องการเรียนตั้งแต่ บทที่ 1. (เว็บนี้วางพื้นฐานที่ดีครับ)
Sentence Diagrams ของ Moutoux
Basics of Reed-Kellogg diagrams
อุปสรรคข้อที่ 2: ไม่รู้ศัพท์
การไม่รู้ศัพท์นี้เป็นเรื่องธรรมดาครับ แต่ถ้าเราฝึกอ่านไปเรื่อย ๆ และค่อย ๆ จำไปเรื่อย ๆ ปัญหานี้ก็จะค่อย ๆ หมดไป ส่วนเทคนิคในการจำศัพท์ก็มีหลายวิธี ต้องเลือกเอาเองครับว่าวิธีไหนเหมาะกับจริตของเรา
ผมขอแนะนำให้ท่านลองศึกษาเว็บข้างล่างนี้ครับ
[82] จำศัพท์–ดูศัพท์–พูดได้ไม่ติดศัพท์ (dictionarying)
[497] ดูศัพท์วิ่ง 3000 คำ – ช่วยให้จำ ได้เร็ว ๆ
[476] จำศัพท์วิ่ง 1,500 คำ จากหน้าคอมฯ
[462] ศึกษาศัพท์อย่างสมบูรณ์:เข้าใจ-จำได้-ใช้เป็น
[452] ศัพท์:- จำให้ได้ – นึกให้ออก - เดาให้ถูก
[367] ศัพท์พื้นฐาน 1,000 คำ ที่ต้องจำให้ขึ้นใจ
[154] จำศัพท์เป็นกลุ่มๆง่ายกว่าจำศัพท์เป็นคำๆ
[143] verb 331 คำ ที่น่าจำให้ขึ้นใจ
[135]ทำ Test-เล่น Game(ทวนศัพท์เก่า-เพิ่มศัพท์ใหม่)
[127] vocabulary-collocation-phrasal verb-idiom
[356] วิธีการทำสมุดจดศัพท์ส่วนตัว Online
และแม้ว่าการรู้ศัพท์เป็นเรื่องจำเป็น แต่ก็เป็นไปไม่ได้หรอกครับที่เราจะรู้ศัพท์หมดทุกคำ และแม้แต่คนที่รู้ศัพท์เยอะ ศัพท์ที่ไม่รู้ก็จะโผล่มาให้เขาเห็นเป็นระยะๆ ทักษะในการเดาศัพท์จึงจำเป็นพอ ๆ กับการรู้ศัพท์ ลองอ่าน 2 ลิงค์ข้างล่างนี้ดูนะครับ
[71] เดาศัพท์จากเรื่องที่อ่าน-เดายังไง?
[93] เดาศัพท์จาก prefix - suffix
นอกจากเรื่องโครงสร้างประโยคและศัพท์ ก็ยังมีอีก 2 เรื่องที่ควรทำ
1. เลือกข่าวที่จะอ่าน: เมื่อท่านเข้าไปในเว็บหนังสือพิมพ์ Bangkok Post http://www.bangkokpost.com/ เมื่อดูที่คอลัมน์ซ้ายมือจะเห็นว่ามีข่าวหลายประเภท ทั้งข่าวทั่วไป ข่าวธุรกิจ ข่าวกีฬา ข่าว IT และอื่น ๆ ให้ท่านเลือกอ่านข่าวที่ท่านชอบมากที่สุดเป็นอันดับแรก เพราะข่าวนี้ท่านย่อมมีความรู้พื้นฐานอยู่ก่อนและสามารถเดาศัพท์ – ตีความเนื้อข่าวได้ง่าย สามารถทนอ่านได้ยาวและอ่านได้นาน ไม่เบื่อง่าย ๆ
2. กำหนดจำนวนนาทีที่จะอุทิศให้แก่การฝึกอ่านข่าว และทำให้ได้: เช่น ท่านตั้งใจว่าจะต้องอ่านให้ได้วันละ 30 นาที ก็ต้องอ่านให้ได้ 30 นาทีจริง ๆ ถ้าไม่มีเวลารวดเดียวก็อาจจะเป็นหลายช่วงก็ได้ เช่น 5 นาที, 10 นาที, 10 นาที, และ 5 นาที อ่านไปเถอะครับแม้ว่าจะรู้เรื่องไม่ครบ 100 % ประเด็นสำคัญที่ผมอยากเน้นก็คือ ให้ทุกนาทีที่อ่านประกอบด้วยสมาธิ เมื่อฝึกเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ปริมาณจะกลายเป็นคุณภาพ คือเราจะค่อย ๆ รู้เรื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ คำพูดที่เป็นสูตรสั้น ๆ ก็คือ “ถ้าได้อ่านก็จะอ่านได้ ถ้าตั้งใจก็จะเข้าใจ”
สุดท้ายที่ผมจะขอเรียนวันนี้ก็คือ มีอีก 4 ลิงค์ที่เป็นเหมือนผู้ช่วยในการฝึกอ่านหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ซึ่งก็เป็นลิงค์ในเครือ Bangkok Post นี่แหละครับ คือ
1. สติวเดนท์ วีคลี่ (คลิกแล้วพบ Trojan จึงขอลบออกไปก่อน)
2. http://www.readbangkokpost.com/
3.Translate It! เอาลิงค์นี้เป็นครูสอนแปล-ครูสอนอ่าน ได้อย่างดีเลยครับ
4.บทเรียนต่าง ๆ ที่ Bangkok Post จัดให้
แถม:เว็บสองภาษาที่น่าสนใจมาก
คลิกใช้ดิกที่นี่ครับ: http://thais-learn-english.blogspot.com/
ผมขอยืนยันว่า การฝึกอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์รายวัน Bangkok Post เป็นสิ่งคุ้มค่ามาก ๆ เช่น
- เนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีคุณภาพ
- การใช้ภาษาของ Bangkok Post อยู่ในมาตรฐานสากล ท่านสามารถจดจำเลียนแบบเอาไปใช้ในการฟัง - พูด - เขียนได้
ผมเชื่อเหมือนที่เขียนไว้ข้างบนครับ คือ ทุกคน “ถ้าได้อ่านก็จะอ่านได้ ถ้าตั้งใจก็จะเข้าใจ”
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com
วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
5 ความคิดเห็น:
ผมอ่านมาสิบสองปีแล้ว ครับ อ่านทุกวันมันก็ชินไปเอง
.....
ช่วยเขียนเล่าประสบการณ์การอ่านตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันให้ฟังหน่อยซีครับ จะได้เป็นวิทยาทานและกำลังใจให้ผู้อื่นที่กำลังฝึกอ่าน-
พิพัฒน์
มีใครเป็นเหมือนผมมั่งครับ เข้า http://www.student-weekly.com/ แล้ว Nod 32 (v. 3) มันฟ้องว่าเจอ Trojan
ขอบคุณครับที่แจ้งให้ทราบ ผมขอลบ URL ของ สติวเด้นท์ วีคลี่ ออกไปก่อน แล้วจะโทรคุยกับ office เขาเรื่องนี้ - พิพัฒน์
อ่าน student weekly ตั้งแต่ประถม เพราะอยากได้กระเป๋า เวลาจม.ได้ตีพิมพ์.. ไม่เคยซื้อกระเป๋าเลยอ่ะค่ะ
แสดงความคิดเห็น