สวัสดีครับ
ผมเข้าใจว่า คนไทยเราโดยทั่วไป เมื่อจะอ่านธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็มีจำนวนไม่มากนักที่จะ “พุทธพจน์” โดยตรง แต่จะอ่านหรือฟังธรรมะที่พระสงฆ์นำคำสอนของพระพุทธมาสอน โดยพระสงฆ์ที่สอนก็จะเติมประสบการณ์และความเข้าใจของท่านลงไปด้วย
ถ้าศาสนิกจะอ่านคำของศาสดาโดยตรง ดูเหมือนชาวพุทธจะลำบากกว่าเพื่อน เพราะพระไตรปิฎกนั้นมีถึง 45 เล่ม ส่วนชาวคริสต์นั้นเขามีพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และชาวมุสลิม ก็มีพระคัมภีร์อัล-กุรอ่าน เล่มเดียว คลิกอ่าน ไบเบิ้ล / อัล-กุรอ่าน จะให้ชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎกก็คงลำบาก
อย่างไรก็ตาม ในหน้าพระไตรปิฎกที่มีมากมายนี้ ดูเหมือนว่า ธรรมบท ซึ่งเป็น พุทธพจน์ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 และได้รับการแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษเกิน 100 เวอร์ชั่นนั้น มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากความงดงามและกระชับของถ้อยคำภาษา ความลึกซึ้งของคำสอน ซึ่งนำเอาไปปฏิบัติตามได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ตามสถานะของแต่ละบุคคล แม้ว่าบางครั้งเมื่อเราอ่านธรรมบท เราอาจจะรู้สึกว่าเป็นคำสอนที่สอน ‘พระ’ หรือผู้ที่ ‘สละโลก’แล้ว แต่จริง ๆ แล้วธรรมบทเป็นพุทธพจน์ที่ทุกคนสามารถประยุกต๋ใช้ได้ในชีวิตทางโลก ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาววัด เด็กหรือผู้ใหญ่
ธรรมบท เวอร์ชั่นภาษาไทยที่แปลจากภาษาบาลีก็มีหลายสำนวน แต่สำนวนซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดน่าจะเป็นของ อาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือเล่มนี้ผมอ่านมาตั้งแต่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยกว่า 30 ปีมาแล้ว วันนี้ผมหยิบขึ้นมาอ่านอีก ก็ยังรู้สึกถึงคุณค่าแห่งพุทธพจน์ในธรรมบทดังเดิม
ผมจึงขอชักชวนให้ท่านลองเข้าไปอ่าน ธรรมบท จะถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาส พุทธชยันตี ก็ดีครับ
อ่าน ธรรมบท onlineผมเข้าใจว่า คนไทยเราโดยทั่วไป เมื่อจะอ่านธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็มีจำนวนไม่มากนักที่จะ “พุทธพจน์” โดยตรง แต่จะอ่านหรือฟังธรรมะที่พระสงฆ์นำคำสอนของพระพุทธมาสอน โดยพระสงฆ์ที่สอนก็จะเติมประสบการณ์และความเข้าใจของท่านลงไปด้วย
ถ้าศาสนิกจะอ่านคำของศาสดาโดยตรง ดูเหมือนชาวพุทธจะลำบากกว่าเพื่อน เพราะพระไตรปิฎกนั้นมีถึง 45 เล่ม ส่วนชาวคริสต์นั้นเขามีพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และชาวมุสลิม ก็มีพระคัมภีร์อัล-กุรอ่าน เล่มเดียว คลิกอ่าน ไบเบิ้ล / อัล-กุรอ่าน จะให้ชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎกก็คงลำบาก
อย่างไรก็ตาม ในหน้าพระไตรปิฎกที่มีมากมายนี้ ดูเหมือนว่า ธรรมบท ซึ่งเป็น พุทธพจน์ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 และได้รับการแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษเกิน 100 เวอร์ชั่นนั้น มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากความงดงามและกระชับของถ้อยคำภาษา ความลึกซึ้งของคำสอน ซึ่งนำเอาไปปฏิบัติตามได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ตามสถานะของแต่ละบุคคล แม้ว่าบางครั้งเมื่อเราอ่านธรรมบท เราอาจจะรู้สึกว่าเป็นคำสอนที่สอน ‘พระ’ หรือผู้ที่ ‘สละโลก’แล้ว แต่จริง ๆ แล้วธรรมบทเป็นพุทธพจน์ที่ทุกคนสามารถประยุกต๋ใช้ได้ในชีวิตทางโลก ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาววัด เด็กหรือผู้ใหญ่
ธรรมบท เวอร์ชั่นภาษาไทยที่แปลจากภาษาบาลีก็มีหลายสำนวน แต่สำนวนซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดน่าจะเป็นของ อาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือเล่มนี้ผมอ่านมาตั้งแต่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยกว่า 30 ปีมาแล้ว วันนี้ผมหยิบขึ้นมาอ่านอีก ก็ยังรู้สึกถึงคุณค่าแห่งพุทธพจน์ในธรรมบทดังเดิม
ผมจึงขอชักชวนให้ท่านลองเข้าไปอ่าน ธรรมบท จะถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาส พุทธชยันตี ก็ดีครับ
“พุทธวจนะในธรรมบท” online - โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก (1)
“พุทธวจนะในธรรมบท” online - โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2)
เพิ่มเติม: อ่าน ธรรมะ โดย อาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
นำ ธรรมบท มาทำ screen saver
ธรรมบท โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ไฟล์ jpeg
วิธีการการทำ Screensaver
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ธรรมบท เพื่ออ่านหน้าคอมฯเวลาที่ไม่ได้ต่อเน็ต หรือนำไปพิมพ์เป็นเล่มพกติดตัวไว้อ่าน
ธรรมบท โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ไฟล์ pdf
พิพัฒน์
e4thai@live.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น